โครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชน |
รหัสโครงการ | 68-L1483-01-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 31 พฤษภาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 7,680.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนิธีวดี เก้าเอี้ยน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.35,99.699place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาการเข้าถึงระบบบริการด้านสาธารณสุขและยาของประชาชนในชนบท ยังคงเป็นจุดบอด ของภาครัฐที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ร้านค้าในหมู่บ้านจึงเป็นทางเลือกเดียวที่มีพร้อมทั้งข้าวของเครื่องใช้อุปโภคบริโภค รวมถึงยาสามัญประจำบ้าน ยาปฏิชีวนะ ยาลูกกลอน และยาชุด เมื่อเจ็บป่วยเป็นไข้หวัด ปวดศรีษะ ปวดท้อง ต้องนึกถึงร้านขายของชำใกล้บ้านเป็นแห่งแรก อีกทั้งยังมีรถเร่ขายยาแก้ปวดสารพัดนึก ปวดศรีษะ ปวดขา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง ยาประดง โดยชาวบ้านหารู้ไม่ว่ายาเหล่านี้สาร สเตียรอยด์ในปริมาณ ที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา จาการสำรวจร้านขายของชำในพื้นที่ตำบลบางด้วน พบว่า มีการใช้ยาชุด ยาลูกกลอน ยาปฏิชีวนะ และยาอันตรายในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มใช้แรงงาน เกษตรกร และผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเมื่อย หรือปวดข้อเรื่อรัง มักจะใช้ยาชุดที่มีส่วนประกอบของยาสเตียรอยด์ จำนวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการลักลอบจำหน่ายยาลูกกลอน ยาปฏิชีวนะ และยาอันตรายภายในร้านของชำเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจนำมาสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะคุชชิ่งหรือต่อมหมวกไตบกพร่อง (Adrenal insufficiency) ที่เกิดจากการใช้ยาชุด ลูกกลอน ยาเม็ดสเตียรอยด์ และนำไปสู่ปัญหาการแพ้ยาซ้ำ และปัญหาเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ซื้อยากินเองจะเป็นผู้สูงอายุที่เคยชินกับยารถเร่ และยาชุด รพ.สต.บางด้วน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการสร้างความรู้ให้ชุมชน ใช้ยาอย่างปลอดภัย ให้ความรู้เรื่อง ยาอันตรายที่ขายในชุมชนของเรา ผลของการใช้ยาอันตราย แล้วรวมไปถึงการแนะนำการใช้ยาในผู้ป่วย โรคเรื้อรัง ที่มีกลุ่มคนมาโฆษณาชวนเชื่อให้ดื่มน้ำสมุนไพรแล้วจะหายจากโรคเบาหวาน ความดัน ซึ่งชาวบ้านรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โครงการนี้เป็นแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อที่จะได้เข้าใจเรื่องโทษของการซื้อยาชุด ยาลูกกลอน ยาปฏิชีวนะ และยาอันตรายที่มีขายอยู่ในพื้นที่ตำบลบางด้วน พร้อมสร้างความตระหนักถึงการใช้ยาประเภทนี้ และเกิดทัศนคติที่ดีจนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาอันตรายลดลงจนนำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ เรื่องยาสามัญประจำบ้าน และโทษจากการซื้อยาชุด ยาปฏิชีวนะและยาลูกกลอน จากร้านค้า ร้านชำทั่วไป 2.เพื่อให้ประชาชนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเข้าใจเลือกชื้อไม่หลงเชื่อคำโฆษณา 3. ประชาชนและผู้ประกอบการร้านค้า สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ยาที่มีอันตรายต่อตนเองและครอบครัวได้ 1.เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ เรื่องยาสามัญประจำบ้าน และโทษจากการซื้อยาชุด |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต.บางด้วน เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ
- กำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ และวิเคราะห์ปัญหาที่พบ และจัดทำแผนการดำเนินงาน
- เขียนแผน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติ
- ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาสัมพันธ์โครงการภายในชุมชน
- พัฒนาศักยภาพการใช้ยาในชุมชน โดยการจัดอบรมเพิ่มทักษะ และความรู้เรื่องโรคตามฤดูกาล และ การเลือกใช้ยาอย่างถูกวิธี อาการแพ้ยา และการเลือกใช้สมุนไพรให้ปลอดภัย พร้อมทั้งให้ความรู้ถึงอันตราย จากการซื้อยาชุด ยาปฏิชีวนะ ยาลุกกลอน และยาอันตรายที่มีขายอยู่โดยทั่วไปตามร้านค้า
- ดำเนินงานตามโครงการ และสรุปผลตามโครงการ
- ประชาชนในชุมชนมีความรู้ เรื่องยาสามัญประจำบ้าน และโทษจากการซื้อยาชุด ยาปฏิชีวนะ และยาลูกกลอน จากจากร้านค้า ร้านชำทั่วไป
- ประชาชนและผู้ประกอบการในชุมชน สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
- ประชาชนและผู้ประกอบการร้านค้า สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจเลือกชื้อยา ไม่หลงเชื่อคำโฆษณาการใช้ยาที่มีอันตรายต่อตนเองได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2568 09:11 น.