โครงการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1483-01-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 9,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนิธิวดี เก้าเอี่้ยน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.35,99.699place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประชากรไทยส่วนใหญ่มีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่เสี่ยงต่อการปวดหลัง และกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณ ที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น จากการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวม ถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยง จากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่น สวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น พื้นที่ตำบลบางด้วน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนผลไม้ สวนยางพารา และสวนปาล์ม ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่เสี่ยงรุนแรงและสูงอยู่
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้างด้วน จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกร และประชาชนกลุ่มเสี่ยง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรและกลุ่มเสี่ยง ใน รพ.สต.บางด้วน ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด และจะได้ทำการเฝ้าระวัง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อตรวจหาระดับสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรและประชากรกลุ่มเสี่ยง จากการใช้หรือได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องสมุนไพรรางจืดมากขึ้น และสามารถใช้บริโภคเพื่อลดความเสี่ยง โรคที่เกิดจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
1.ประชุมเจ้าหน้าที่ และ อสม.เพื่อร่วมกันกำหนดแผนงานการลงปฏิบัติในพื้นที่
2.ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงรับทราบ เพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัดวัน
เวลา และสถานที่ในการตรวจ โดยทีม อสม.ของหมู่บ้าน
3.เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ในการตรวจคัดกรอง และแบบสอบถามการตรวจคัดกรอง โดยการ
เจาะเลือด ซึ่งใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ตรวจอ่านผลจากเลือด
4.ประสานงานกับหมู่บ้านในพื้นที่ เพื่อเตรียมการดำเนินงานตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่
ตกค้างให้เกษตรกรและกลุ่มเสี่ยง
5.ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกรตามวัน และเวลาที่นัดหมาย
6.แจ้งผลการตรวจ พร้อมคำแนะนำที่ถูกต้อง หรือจ่ายยาสมุนไพรรางจืดให้กับกลุ่มเสี่ยง
๑. ประชาชนทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ในเขต พื้นที่ รพ.สต.บ้างด้วน ๒. รพ.สต.บางด้วน จะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพของเกษตรกร ๓. เกษตรกรมีความรู้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ และวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2568 09:27 น.