โครงการผู้สูงอายุเข่าดี ด้วยวิถีแผนไทยสมุนไพรพอกเข่า
ชื่อโครงการ | โครงการผู้สูงอายุเข่าดี ด้วยวิถีแผนไทยสมุนไพรพอกเข่า |
รหัสโครงการ | 68-L1483-01-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 18,750.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนิธีวดี เก้าเอี้ยน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.35,99.699place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 150 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยมีแนวโน้มสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุนี้เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนทั้งในด้านสุขภาพและสังคมการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านภาวะสุขภาพ แบบแผนการเกิดโรคได้เปลี่ยนมาเป็นการเสื่อมสภาพของร่างกายตามวัย และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น จากการศึกษา พบว่ามีผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ร้อยละ 43.9 โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสุขภาพและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน เป็นอุปสรรคในการเข้าสังคม ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่ต้องรับประทานยากลุ่มNSAIDs เพื่อใช้บรรเทาอาการปวด ซึ่งยากลุ่มจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคไต สาเหตุของการเจ็บป่วย เกิดจาก 1.อายุมากมีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมมาก เนื่องจากอายุการใช้งานข้อเข่ามาก พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2-3 เท่า 2. คนที่มีรูปร่างอ้วน มีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนผอม 3. การใช้งาน และท่าทาง ในการทำกิจกรรมที่ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ยกของหนัก นั่งพับเพียบ 4. โครงสร้างเข่าผิดรูปตั้งแต่กำเนิด เช่น เข่าโก่ง 5. เคยประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับข้อเข่า 6.โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคเก๊าท์ ปัจจุบันการรักษาโรคเข่าเสื่อมยังไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจังแม้แต่ตัวผู้ป่วยก็ยังขาดความรู้ในการดูแลตนเอง และมักจะหันไปพึ่งยาซึ่งการรับประทานยาเป็นเวลานานทำให้เกิดอาการข้างเคียงและมีผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นการบำบัดแบบไม่ใช้ยาหรือการบำบัดด้วยการแพทย์ทางเลือกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการรักษาโรคเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วนเล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการโครงการผู้สูงอายุเข่าดี ด้วยวิถีแผนไทย สมุนไพรพอกเข่า เพื่อให้ผู้ป่วยป้องกัน ดูแล บรรเทา และฟื้นฟู อาการปวดเข่า ด้วยศาสตร์แผนไทยเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและทำได้เองสะดวก ลดการใช้ยาชนิดรับประทาน ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลเสียได้มากกว่าผลดี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. ผู้สูงอายุมีความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และลักษณะทางกายภาพของเข่า เมื่อเกิดอาการปวดแบบต่าง ๆ ทางแผนไทย 2. ผู้สูงอายุสามารถป้องกัน ดูแล บรรเทา และฟื้นฟู อาการปวดเข่า ด้วยศาสตร์แผนไทย
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ
- วิเคราะห์ปัญหาที่พบและจัดทำแผนดำเนินงาน
- เขียนแผน/โครงการ เพื่อขออนุมัติ
- ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประชุม อสม. และกำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ
- ประชาสัมพันธ์โครงการภายในชุมชน
- ดำเนินงานตามโครงการ
- สรุปผลตามโครงการ
- ผู้สูงอายุเข้าใจสาเหตุ อาการ ลักษณะทางกายภาพของเข่าและอาการปวดแบบต่าง ทางแผนไทยได้อย่างถูกต้องสามารถเลือกสมุนไพรเพื่อการรักษาๆได้อย่างเหมาะสม
- ผู้สูงอายุสามารถใช้ศาสตร์ทางแผนไทยเพื่อการป้องกัน ดูแล บรรเทาและบำบัดฟื้นฟูอาการปวดเข่าได้อย่างถูกต้อง เหมาะกับอาการของโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2568 09:43 น.