กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลบางด้วนปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L1483-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
วันที่อนุมัติ 25 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 29 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 10,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิธิวดี เก้าเอี้ยน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.35,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 72 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกประเทศไทย ปี 2567 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 81,052 ราย อัตราป่วย 124.86 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 63 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.09 เขตสุขภาพที่ 12 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 9,922 ราย อัตราป่วย 199.70 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.14 ต่อแสนประชากร จังหวัดตรัง พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 975 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 153.21 ต่อแสนประชากร อำเภอปะเหลียน มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น 191 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 301.75 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 0 ราย และตำบลบางด้วน พบผู้ป่วยเพศชาย 3 ราย เพศหญิง    5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 268.82 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 0 ราย
ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกตำบลบางด้วนเพิ่มขึ้น เนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้มีขังน้ำตามภาชนะต่างๆ เช่น ฝาขวด แก้วพลาสติก ถุงพลาสติก เศษกระถาง ซึ่งเป็นที่ที่ยุงลายชอบวางไข่ ไข่ของยุงลาย      จะยึดติดแน่นกับของผิวภาชนะเหนือระดับน้ำเล็กน้อย สามารถอยู่ได้นานเป็นปี เมื่อมีน้ำท่วมถึงสามารถ      ฟักตัวเป็นระยะ ตัวเต็มวัยในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ และเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น ยุงลายตัวเต็มวัยจะออกหา  กินในช่วงกลางคืนมากขึ้น ประชาชนควรป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด และไม่ให้ยุงเกิด ด้วยวิธีนอนในมุ้ง      ติดมุ้งลวด ใส่เสื้อผ้ามิดชิด ทาโลชั่นกันยุง ใช้ยาจุดกันยุง ปฏิบัติตามหลัก 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค เก็บบ้าน        ให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก จัดเก็บเสื้อผ้าใส่ตู้ให้เป็นระเบียบ เก็บขยะ เศษภาชนะ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ เศษภาชนะวัสดุที่ทิ้งไว้รอบบ้าน เช่น กะลา กระป๋อง ถุงพลาสติก ควรเก็บทิ้งหรือถมดินไม่ให้น้ำขัง ยางรถยนต์เก่าสามารถดัดแปลงนำมาใช้ประโยชน์ และเก็บแหล่งน้ำ ปิดให้มิดชิด เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ไม่ให้ยุงลายวางไข่ ภาชนะขังน้ำขนาดเล็กหมั่นเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้สด หิ้งบูชาพระ        ศาลพระภูมิ ขวดเลี้ยงพลูด่าง ไม้ประดับ ใส่ทรายธรรมดาในจานรองกระถางต้นไม้ให้ดูดซับน้ำ เป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก      ตำบลบางด้วน ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการสื่อสารให้ประชาชนเห็นความสำคัญที่จะต้องช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบริเวณที่พักอาศัยและในชุมชนของตนเอง ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จึงจะสามารถแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน 2. เพื่อกระตุ้นให้ประชนเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน
  2. เพื่อกระตุ้นให้ประชนเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
  2. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์แก่แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน
  3. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือ        ให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  4. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับแกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยวิธีทางกายภาพ ทางเคมีและทางชีวภาพ
  5. แกนนำประจำครอบครัว สำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตรับผิดชอบ
  6. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน
  2. ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2568 09:51 น.