โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ 2568 |
รหัสโครงการ | 2568-L3310-5-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักปลัด อบต.เขาชัยสน |
วันที่อนุมัติ | 3 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 50,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสงบ ลักษณะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.442766199,100.1320688place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนในร่างกาย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเป็นจากตัวเชื้อโรคเองหรือพิษที่เชื้อโรคนั้นปล่อยออกมา เชื้อโรคจะติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วยโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ บางครั้งเรียกว่า โรคติดเชื้อแทนคำว่า โรคติดต่อ สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคต่างๆ ชุกชุม เมื่อมีการติดต่อถ่ายทอดไปยังผู้อื่น ก็จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น จึงจะต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตรฐาน ในแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอื่นที่อุบัติใหม่ เช่น การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-1๙) ฯลฯ เป็นต้น ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมากดังนั้น ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคระบาดฯทุกชนิด จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบของ อบต.เขาชัยสน อบต.เขาชัยสน รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคระบาด ให้ทันต่อเหตุการณ์ และโรคติดต่ออื่นๆที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง เพื่อให้การป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังโรคระบาดและกรณีภัยพิบัติในพื้นที่ตำบลเขาชัยสนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาชัยสน ได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง เป็นการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดต่อในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ |
||
2 | เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดต่อ ให้กับแกนนำสุขภาพของ อบต.เขาชัยสน และสามารถถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนได้ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้และสามารถถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้ |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้กับแกนนำสุขภาพและประชาชนที่สนใจในพื้นที่อบต.เขาชัยสน ในการป้องกันโรค(1 ต.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) | 50,000.00 | ||||||||||||
รวม | 50,000.00 |
1 อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้กับแกนนำสุขภาพและประชาชนที่สนใจในพื้นที่อบต.เขาชัยสน ในการป้องกันโรค | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 3060 | 50,000.00 | 0 | 0.00 | 50,000.00 | |
1 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้กับแกนนำสุขภาพและประชาชนที่สนใจในพื้นที่อบต.เขาชัยสน ในการป้องกันโรค | 60 | 8,000.00 | - | - | ||
22 ม.ค. 68 | กิจกรรมการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข | 3,000 | 42,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 3,060 | 50,000.00 | 0 | 0.00 | 50,000.00 |
- ร้อยละ 90 ของการจัดกิจกรรมการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ดำเนินไปด้วยความราบรื่น
- มีแกนนำสุขภาพ หรือทีม ครู ก.ระดับหมู่บ้าน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2568 14:27 น.