โครงการเยี่ยมแม่ แลลูก
ชื่อโครงการ | โครงการเยี่ยมแม่ แลลูก |
รหัสโครงการ | 68-L3366-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลศรีบรรพต |
วันที่อนุมัติ | 5 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 10,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายแพทย์ชุติมันต์ พงศ์ไตรภูมิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 15 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | อัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์เมื่อตรวจเลือด ครั้งที่ ๑ | 28.57 | ||
2 | ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน | 53.00 | ||
3 | ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด | 20.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานแม่และเด็กตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต ปี 2565 – 2567 พบว่ายังพบปัญหาทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500กรัม ร้อยละ 6.25 , 8.33 และ 13.64 อัตราฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ร้อยละ 87.80 , 84.93และ 94.44อัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์เมื่อตรวจเลือดครั้งแรก ที่ฝากครรภ์ รพ.ศรีบรรพต 14.51, 11.29 และ10 อัตราความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวร้อยละ 53.33 , 61.11 และ 58.33ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์,ความดันโลหิตสูงและหญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลกระทบต่อมารดาและทารก เพิ่มมากขึ้นทีมผู้ดูแลมารดาและทารกอำเภอศรีบรรพตจึงได้วิเคราะห์ข้อมูลทบทวนปัญหาดังกล่าวเพื่อหาแนวทาง ค้นหาป้องกันจัดการความเสี่ยงแก่หญิงตั้งครรภ์ได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยเครือข่าย ประกอบด้วยพยาบาลผู้ดูแลมารดาและทารก, ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก, แกนนำอนามัยแม่และเด็ก, อสม.เครือข่าย ผู้ปฏิบัติจึงต้องมีความรู้ในการดูแลเฝ้าระวัง ค้นหาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลมารดาและทารก และป้องกันความเสี่ยงเป้าหมายคือลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย และเพิ่มการเข้าถึงบริการอย่างทันท่วงที
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน ร้อยละของแม่ ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพิ่มขึ้น |
53.00 | 60.00 |
2 | เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด ลดลง |
20.00 | 14.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
5 มิ.ย. 68 | กิจกรรมที่ 2 ฟื้นฟูศักยภาพ อสม . / เจ้าหน้าที่ เรื่องคัดกรองภาวะเสี่ยงในหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์/การดูแลมารดาทารก หลังคลอด การคุมกำเนิด การส่งเสริมโภชนาการ และพัฒนาการเด็ก0–5 ปี | 0 | 5,320.00 | - | ||
6 มิ.ย. 68 | กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์รณรงค์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์/ เตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร | 0 | 1,620.00 | - | ||
12 - 13 มิ.ย. 68 | กิจกรรมที่ 3 -ฟื้นฟูทักษะ ฝึกปฏิบัติทักษะแกนนำผู้ดูแลมารดาทารกติดตามเยี่ยมหญิงวัยเจริญพันธุ์ และหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง, การคุมกำเนิด การส่งเสริมโภชนาการ และพัฒนาการเด็ก 0 – 5 ปี - แกนนำผู้ดูแลมารดาและทารกแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญ | 0 | 3,360.00 | - | ||
รวม | 0 | 10,300.00 | 0 | 0.00 |
1.อัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์เมื่อตรวจเลือด ครั้งที่ 1 ลดลง 2.อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น 3.แกนนำมีทักษะในการติดตามเยี่ยม วัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ มารดา และทากรหลังคลอด เพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2568 00:00 น.