โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังวิเศษ
ชื่อโครงการ | โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังวิเศษ |
รหัสโครงการ | 68-L7483-04-4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | นายกเทศมนตรีตำบลวังวิเศษ |
วันที่อนุมัติ | 20 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายโรจน์ฤทธิศักดิ์ มุกดา |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายปฏิพัฒน์ ไกรสุทธิ์ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรา ๑๘ ๔) (๘) (๙) และมาตรา ๔๗ ประกอบด้วยประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานหรือบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๗ ข้อ ๖ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยให้มีกองทุนหลักประกันที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการบริหารสาธารณสุข เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้และมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น เทศบาลเป็นกลไกสำคัญในการ บริหารจัดการระบบสุขภาพและประเมินหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่ายในส่วนที่เข้ามาค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
๑. รวบรวมข้อมูลสุขภาพ เพื่อกำหนดแผนสุขภาพชุมชนและวางแผนการบริหารจัดการ
๒. เสนอขออนุมัติดำเนินโครงการ
๓. ดำเนินการตามโครงการ
๓.๑ จัดประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า ๔
ครั้ง/ปี
๓.๒ พัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการที่ดีแก่ประชาชนและหน่วยงานที่รับทุนจากกองทุน
๓.๓ ติดตามและประเมินผลโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน
๓.๔ จัดทำแผนสุขภาพชุมชน
๓.๔ จัดทำแผนการเงิน
๓.๖ ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์กองทุนฯ หน้าที่คณะกรรมการ ประกาศฯและการเขียน
โครงการ
๓.๗ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้๔. จัดเวทีประชาคมเพื่อทำแผนสุขภาพชุมชน โดยภาคีเครือข่ายสุขภาพกลุ่มต่างๆร่วมเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข
๕. ประชาสัมพันธ์กองทุนฯผ่านเว็ปไซต์หรือการจัดการกิจกรรม จำนวน ๑ ครั้ง/ปี
๖. รายงานผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ
๑. คณะกรรมการฯและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ สามารถดำเนินงานกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ๒. แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ๓. คณะกรรมการสามารถควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีหรือทรัพย์สินในกองทุนฯให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2568 10:53 น.