โครงการภาวะซีด ป้องกันได้ ง่ายนิดเดียว
ชื่อโครงการ | โครงการภาวะซีด ป้องกันได้ ง่ายนิดเดียว |
รหัสโครงการ | 68-L4120-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาไก |
วันที่อนุมัติ | 28 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมะยือรี หะแว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 31 ม.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 15,700.00 | |||
2 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 15,700.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะโลหิตจางเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่ส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง เกิดจากหลายสาเหตุทั้งความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ภาวะขาดสารอาหารและโรคติดเชื้อ โดยพบบ่อยที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุสำคัญของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ คือ การขาดสารอาหารจากธาตุเหล็กและกรดโฟลิก ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก เช่น มารดาเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ทารกเสี่ยงต่อคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม จากรายงานของงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่าสาเหตุการตายของมารดา อันดับหนึ่ง คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ในประเทศไทย ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2566 – 2567 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2565 - 2566 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 21.05 และ 15.79 ตามลำดับ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้มีการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็กและให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร การดูแลและการส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ ทำให้ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2567 ลดลง เป็นร้อยละ 8.57 ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานแม่และเด็กปี 2567 ของ รพ.สต.บ้านซาไก อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอดเท่ากับร้อยละ 8.57 ซึ่งมีค่าสูงใกล้เคียงกับเป้าหมายที่กำหนดแต่เนื่องจากภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก การตกเลือดหลังคลอดและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลาจึงได้มีนโยบาย ลดแม่ตายโดยเน้นระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอด ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาไก ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดจึงได้จัดทำโครงการ “ภาวะซีด ป้องกันได้ ง่ายนิดเดียว” ขึ้น เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยเด็กสุขภาพดีและมีพัฒนาการสมวัยโดยดึงพลังแกนนำของประชาชนโดย แกนนำสุขภาพ บุคคลใกล้ชิด ให้มีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย สุขภาพแข็งแรง พัฒนาการสมวัย อัตราเด็กเกิดน้ำหนักแรกคลอดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม |
0.00 | |
2 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยงซีดและซีดลดลง หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดใกล้คลอด ไม่เกินร้อยละ 14 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 |
0.00 | |
3 | เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 |
65.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
3 มี.ค. 68 | กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่องการป้องกันภาวะซีดในประชาชนทั่วไป หญิงวัยเจริญพันธ์ และหญิงตั้งครรภ์ | 0 | 15,700.00 | - | ||
3 มี.ค. 68 - 29 ก.ย. 68 | กิจกรรมติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอดตามเกณฑ์คุณภาพ | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 0 | 15,700.00 | 0 | 0.00 |
- เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมในการดูแลตนเองก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอดป้องกันภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
- เพื่อพัฒนาความรู้ในการดูแลตนเองในหญิงตั้งครรภ์ ครอบครัว และระบบบริการอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง
- หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ
- เพื่อให้ชุมชนและทุกคนในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีเกิดสายใยรักครอบครัว
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2568 00:00 น.