โครงการเสริมสร้างความรอบรู้เพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลเขาชัยสน
ชื่อโครงการ | โครงการเสริมสร้างความรอบรู้เพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลเขาชัยสน |
รหัสโครงการ | 2568-L3310-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลเขาชัยสน |
วันที่อนุมัติ | 3 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 4,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลเขาชัยสน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.442766199,100.1320688place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 172 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุ พบว่า หนึ่งในอุบัติเหตุที่ผู้สูงอายุได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ การพลัดตกหกล้ม สูงถึงร้อยละ 40.4 ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมดในผู้สูงอายุ และข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขพบว่า 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2562–2567) แนวโน้มผู้สูงอายุเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยมากกว่า 800 คนต่อปี หรือประมาณ 3 คนต่อวัน ผู้สูงอายุ 1 ใน 3 หรือมากกว่า 3 ล้านคน พลัดตกหกล้มทุกปี โดยได้รับบาดเจ็บรุนแรงมากที่สุดคือ กระดูกข้อมือหัก รองลงมาคือสะโพกหัก และซี่โครงหัก สาเหตุการหกล้มมีทั้งปัจจัยภายในตัวผู้สูงอายุเอง จากความเสื่อมของระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายที่มีผลต่อการทรงตัว ได้แก่ ความเสื่อมของระบบการมองเห็น ระบบการได้ยิน ระบบกายสัมผัสและการรับรู้ การเคลื่อนไหวของข้อต่อความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อที่ลดลง ทำให้ขณะเดินหรือเปลี่ยนท่าทาง และปัจจัยภายนอกได้แก่สภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น พื้นลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอ การจัดวางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ
จากผลกระทบต่อผู้สูงอายุจากพลัดตกหกล้มดังที่กล่าวข้างต้น ถ้าผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตนเอง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้น จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลเขาชัยสน ตระหนักในปัญหาเรื่องพลัดตกหกล้ม จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันพลัดตกหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ ร้อยละ80ผู้สูงอายุมีรูปแบบการป้องกันพลัดตกหกล้ม |
||
2 | 2. เพื่อสร้างความรอบรู้ในการป้องกันพลัดตกหกล้มให้กับผู้สูงอายุ ร้อยละ80ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ในการป้องกันพลัดตกหกล้ม |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
อบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมดังนี้
• ผู้เข้าร่วมโครงการทำแบบประเมินก่อนและหลังให้ความรู้
• กิจกรรมบรรยายเรื่องสรีระวิทยากับการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ
• กิจกรรมการเข้าฐาน ประกอบด้วย การให้ความรู้และประเมินการใช้ยาในผู้สูงอายุ การให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อสะโพก เข่า และข้อเท้า การใช้อุปกรณ์ช่วยป้องกัน การพลัดตกหกล้ม การให้ความรู้เรื่องสภาพแวดล้อมในบ้านที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
• ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม
ผู้สูงอายุจะมีแนวทาง/รูปแบบการดูแลตนเองเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มที่สามารถนำไปปฏิบัติได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2568 15:55 น.