โครงการวัด โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลเขาชัยสน
ชื่อโครงการ | โครงการวัด โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลเขาชัยสน |
รหัสโครงการ | 2568-L3310-01-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลเขาชัยสน |
วันที่อนุมัติ | 3 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 4,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลเขาชัยสน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.442766199,100.1320688place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม - กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากิจเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิด ในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสถาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์บ้าน วัด โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์แพร่ระบาดและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนและโรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผลึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกันต่อไป
การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลเขาชัยสน จึงได้จัดทำโครงการวัด โรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย เพื่อให้แกนนำมีความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อให้แกนนำมีทักษะในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้แกนนำมีความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
|
||
2 | 2. เพื่อให้แกนนำมีทักษะในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 2.วัด โรงเรียนร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ |
||
3 | 3. ค่า CI ในโรงเรียนและวัด เป็น 0 3.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปี |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
กิจกรรมที่ 1
อบรมความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ทักษะในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
กิจกรรมที่ 2
เดินรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายแจกทรายอะเบทในวัดและโรงเรียนในเขตพื้นที่อบต.เขาชัยสน
- ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปี
- ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยโรคไข้เลือดออก
- สร้างความร่วมมือร่วมใจของวัดและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2568 14:12 น.