โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกเชิงรุก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกเชิงรุก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา |
รหัสโครงการ | 2568-L3310-1-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา |
วันที่อนุมัติ | 3 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ผู้อำนวยกาารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.442766199,100.1320688place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
จากรายงานสถานการณ์โรคสำนักงานจังหวัดพัทลุง ประจำเดือน กันยายน 2567 โรคไข้เลือดออกมีผู้ป่วยมากเป็นลำดับที่ 2 รองจาก โรคไข้หวัดใหญ่ มีรายงานผู้ป่วย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 -23 กันยายน 2567) พบผู้ป่วยจำนวน 1,438 คน อัตราป่วย 274.1/แสนประชากร(ค่าปกติ ไม่เกิน 50/แสนประชากร) มากกว่าค่ามัธยฐาน (ค่ามัธยฐานเท่ากับ 83.3) ผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 1 ราย ในเขตรับรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านโคกยาจากรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2567-วันที่ 28 ตุลาคม 2566 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 8 คน คิดเป็นอัตราป่วย 286.53/แสนประชากร ซึ่งอัตราป่วยมากกว่าค่ามาตรฐาน ดังนั้นต้องมีการใช้มาตรการที่สำคัญในการควบคุมโรค โดยนำมาตรการ 3-3-1 มาใช้ในการควบคุมโรค ภายใน 24 ช.ม. ด้วยการแจ้งพื้นที่ที่พบผู้ป่วย ภายใน 3 ช.ม. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายใน 3 ชั่วโมง พ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย ภายใน 1 วัน และให้ความรู้แก่ชาวบ้านตามมาตรการ 3 เก็บ ได้แก่ เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง เก็บขยะ เศษภาชนะที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เก็บน้ำให้มิดชิด ใส่ทรายอะเบท ฆ่าลูกน้ำยุงลาย ในอัตราส่วน 1 กรัม/น้ำ 10 ลิตร
เพื่อให้การดำเนินการควบคุมโรคในชุมชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการควบคุมโรคเชิงรุกของทีม SRRT ในระดับตำบลที่มีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำโครงการควบคุมโรคป้องกันโรคไข้เลือดออกเชิงรุก เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของคนในชุมชน และ สร้าง ทักษะความรู้ที่ถูกต้อง รวดเร็ว ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้มีเครือข่ายทีม SRRT เคลื่อนที่เร็วในตำบล มีความรู้ทักษะในการควบคุมโรคได้ถูกต้องรวดเร็ว ทีม SRRT สามารถปฏิบัติการควบคุมโรคเชิงทุกได้ถูกต้องตามมาตรการควบคุมโรคไข้เลือดออก |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- กิจกรรมอบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพเครือข่าย SRRT ระดับตำบล 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ ทีม SRRT ระดับตำบล -ค่าอาหารว่าง 1 มื้อๆละ25 จำนวน 20 คน เป็นเงิน 500 บาท -ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท รวมเป็นเงิน 2,300 บาท
- อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในชุมชนของทีม SRRT ตำบล
2.กิจกรรมฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายในชุมชนของทีม SRRT ตำบล
-ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 15 คน เป็นเงิน 750 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 70 บาท จำนวน 15 คน เป็นเงิน 1,050 บาท -ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท รวมเป็นเงิน 5,400 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม
- ชุดน้ำยาเคมีภัณฑ์สำหรับใช้กับเครื่องพ่นหมอกควัน
- ชุดน้ำยาเคมีภัณฑ์สำหรับใช้กับเครื่องพ่นหมอกควัน
- น้ำยาเคมี 1 ลิตร เป็นเงิน 1,650 บาท
- น้ำมันเบนซิน 95 เป็นเงิน 650บาท
รวมเป็นเงิน 2,300 บาท
รวมทั้งสิ้น 10,000 บาท งบประมาณแต่ละรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้
1.มีทีม SRRT ระดับตำบลที่มีศักยภาพในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกเชิงรุก 2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2568 14:34 น.