กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันสวย ห่างไกลฟันผุ 3-5 ปี ทันตกรรมโรงพยาบาลเขาชัยสน
รหัสโครงการ 2568-L3310-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ทันตกรรมโรงพยาบาลเขาชัยสน
วันที่อนุมัติ 3 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 22,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเขาชัยสน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.442766199,100.1320688place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 154 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคฟันผุในเด็กเล็ก ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญปัญหาหนึ่ง แต่มักเป็นปัญหาที่ถูกมองข้าม เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้ในเด็กเกือบทุกคนและความรุนแรงไม่มากจนถึงแก่ชีวิต ส่งผลให้ผู้ปกครองขาดความตระหนักและไม่ให้ความสำคัญ โรคฟันผุถือเป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน แต่มีปัจจัยหลักอยู่ 3 ปัจจัยด้วยกัน ปัจจัยแรก คือ การได้รับเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ พบว่าเด็กที่ฟันผุมีเชื้อ Mutan Streptocooci สูงกว่าเด็กโดยทั่วไป ปัจจัยที่สอง คือ การให้อาหารแก่เด็กไม่ถูกต้อง เช่น การให้นมหวานแก่เด็ก การรับประทานอาหารระหว่างมื้อ และปัจจัยที่สาม คือ การดูแลทำความสะอาดช่องปากของเด็กไม่ดี พบว่า เด็กที่ฟันไม่ผุ ส่วนมากแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ ต่างจากเด็กที่ฟันผุซึ่งแปรงฟันไม่สม่ำเสมอ แปรงน้อย หรือไม่แปรงเลย และเด็กที่พ่อแม่แปรงฟันให้จะมีฟันผุน้อยกว่าเด็กที่แปรงฟันด้วยตนเอง จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 9 พ.ศ.2566 พบว่า เด็กอายุ 3 ปีมีฟันผุระยะเริ่มต้นร้อยละ 38.0 มีความชุกในการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 47.0 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 2.5 ซี่ต่อคน และร้อยละ 2.6 ของเด็กอายุ 3 ปีมีประสบการณ์การสูญเสียฟันในช่องปาก นอกจากนี้พบว่าเด็กอายุ 3 ปีมีฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 46.1 หรือเฉลี่ย 2.4 ซี่ต่อคน ความชุกของการเกิดฟันผุในเด็กอายุ 3 ปีพบสูงสุดในภาคใต้ ร้อยละ 55.5 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 3.2 ซี่ต่อคน ในปี 2567 สภาวะสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กอายุ 3-5 ปี จังหวัดพัทลุง พบว่า ค่าเฉลี่ยฟันผุ ร้อยละ 40.47 และในปี 2567 สภาวะสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กอายุ 3-5 ปี อำเภอเขาชัยสน ค่าเฉลี่ยฟันผุ ร้อยละ 41.99 ซึ่งยังคงมีความชุกโรคฟันน้ำนมผุสูงกว่าระดับจังหวัด (สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพัทลุง, 2567) เนื่องจากโรคฟันผุในฟันน้ำนมเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และเด็กเหล่านี้ใช้เวลาส่วนหนึ่งอยู่กับผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับผู้ปกครอง ประกอบกับเด็กเหล่านี้ยังไม่สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กควรมีความตระหนักและทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก การควบคุมอาหารที่ทำให้เกิดฟันผุ และมีแนวทางในการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กเล็ก รวมถึงกิจกรรมที่ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดังนั้นกลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลเขาชัยสน ได้เห็นความสำคัญของกิจกรรมที่สร้างเสริมพัฒนาการที่ดีของเด็กเล็กเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กจึงได้มีการจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพของเด็กเล็กขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมทันตสุขศึกษาแก่ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ปกครองอายุ 3-5 ปี

ร้อยละ 80 ของครูและผู้ปกครอง มีความรู้ด้านทันตสุขศึกษาเพิ่มขึ้น

2 เพื่อยับยั้งการลุกลามของโรคฟันผุด้วย SDF

ร้อยละ 70 ของเด็กนักเรียนที่ได้รับการทา SDF ฟันหยุดผุ

3 เพื่อฝึกทักษะการแปรงฟันให้แก่ครู และผู้ปกครองของเด็ก 3-5 ปี

ร้อยละ 80 ของครูและผู้ปกครอง มีทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธีเพิ่มขึ้น

4 เพื่อให้เด็กนักเรียนในศพด.ที่มีฟันผุได้รับการอุดฟันอย่างน้อยคนละ 1 ซี่

ร้อยละ 70 ของเด็กที่มีฟันผุได้รับการอุดฟันอย่างน้อยคนละ  1 ซี่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมให้ทันตสุขศึกษาแก่ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ปกครองอายุ 2-5 ปี
  2. กิจกรรมฝึกทักษะการแปรงฟันในเด็ก 2-5 ปี
  3. กิจกรรม ชี้แจงผู้ปกครองในการทำ SDF และ SMART
  4. กิจกรรมแนะนำผู้ปกครองในการใช้ Chatbot 21 วัน ฟันดี


  5. ค่าอาหารว่าง 25บาท 154คน
    รวม 3,850บาท

  6. ค่าวิทยากร ๓ ชม.ๆละ ๖๐๐*4
    รวม 7,200บาท
  7. ค่าชุดฝึกทักษะแปรงฟัน35บาท*134ชุด รวม 4,690 บาท
  8. ค่า SDF ขวดละ 2,250บาท*2
    รวม 4,500บาท
  9. ค่าฟลูออไรด์ หลอดละ 670*4
    รวม 2,680 บาท รวม 22,920 บาท
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีอัตราการเกิดโรคฟันผุลดลง
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะได้รับการกระตุ้น ส่งเสริม และสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก ทำให้มีแนวทางการพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคตามวิถีของชุมชน
  3. ครู และผู้ปกครองสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
  4. ครู และผู้ปกครองมีทักษะการแปรงฟันแบบถูกวิธีของเด็ก 3-5 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2568 14:54 น.