โครงการบริหารและพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปาเสมัส ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการบริหารและพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปาเสมัส ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2535-04-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เทศบาลตำบลปาเสมัส |
วันที่อนุมัติ | 9 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 176,789.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมุฮัมมัดอามีน ยูนุ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอายิ หะมาดุลลาห์ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] | 51 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (The Community Health Security Fund) นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ้งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน ตามประกาศฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2561 และประกาศฯ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2565 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้บุคคลที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่โดยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังนี้ (1) เพื่อสนับสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข หมายความว่า การจัดบริการในชุมชน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิต นอกเหนือจากการจัดบริการปกติของหน่วยบริการ ซึ่งหน่วยงานสาธารณสุขให้พิจารณาตามภารกิจหน้าที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุข เช่น อปท. หรือหน่วยย่อยอื่นๆ ของ อปท. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ (2) เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่นได้ดำเนินงานตามแผนงาน หรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่และกรณีมี ความจำเป็นต้องจัดซื้อวัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ให้สนับสนุนได้ในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาทต่อโครงการวัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นที่ได้รับการสนับสนุนนั้นๆ (3) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นหรือหน่วยงานที่ดูแล ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นหรือหน่วยงานที่ดูแลดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่ มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน 20,000 บาทต่อหน่วย โดยการจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้ระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ (5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ (6) เพื่อสนับสนุนเป็นค่าจ้างหรือค่าตอบแทนหรือค่าป่วยการของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตามข้อ 8 วรรคสาม (7) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขอื่นตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (8) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วยทุพพลภาพเพื่อเข้ารับบริการสาธารณสุขตามที่สำนักงานกำหนด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดสัดส่วนเงินคงเหลือสะสม (ยกมาจากปีผ่านมา/รายรับแต่ละปี) ลง
|
0.00 | |
2 | เพื่อเพิ่มสัดส่วนคณะกรรมการมีความรู้เรื่องประกาศฯ และการดำเนินงานกองทุนขึ้น
|
0.00 | |
3 | เพื่อเพิ่มสัดส่วนโครงการที่ส่งผลงานสำเร็จ
|
0.00 | |
4 | เพื่อเพิ่มการประชุมคณะอนุ LTC ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง/ปี
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 176,789.00 | 0 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปาเสมัส | 0 | 40,020.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการ | 0 | 17,420.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมคณะอนุ LTC ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง/ปี | 0 | 10,050.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | การจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อการบริหารจัดการกองทุนฯ | 0 | 92,577.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุน อนุกรรมการกองทุน และ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกองทุนฯ | 0 | 16,722.00 | - |
- ประชาชนในพื้นที่สามารถจัดบริการสุขภาพด้วยตนเองได้
- ประชาชนเข้าถึงงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล
- มีการใช้จ่ายงบประมาณกองทุนฯ อย่างน้อย ร้อยละ 80
- มีการจัดบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นได้อย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2568 00:00 น.