โครงการส่งเสริมและป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของเด็กปฐมวัย
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมและป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของเด็กปฐมวัย |
รหัสโครงการ | L3339-68-03-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านม่วงทวน |
วันที่อนุมัติ | 7 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 15 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 9,940.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านม่วงทวน |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางวาลัยพร ด้วงคง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 36 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของเด็กเล็ก 2-6 ปี ที่เป็นโรคมือเท้าปากระบาด | 5.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นเด็กก่อนวัยเรียนถูกนำมาฝากเลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อมีเด็กคนใดคนหนึ่งเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อโรคและติดต่อสู่กันได้ง่ายในเด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำจะป่วยได้บ่อย โรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง เมื่อเกิดขึ้นต้องปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมีค่าใชจ่ายในการรักษาพยาบาล ผู้ปกครองต้องหยุดงาน เพื่อดูแลรักษาเด็กที่บ้าน ทำให้ขาดรายได้จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรคในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการเกิด โรคมือ เท้า ปาก แล้วยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต จากข้อมูลดังกล่าวศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านม่วงทวน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค มือ เท้า ปาก ในเด็กปฐมวัยภายในเขตพื้นที่ตำบลหารเทาขึ้น เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและการป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจาย ให้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองเด็กเล็กมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อต่างๆ 1.ครูและผู้ปกครองเด็กเข้าใจและรู้วิธีป้องกันโรคติดต่อที่ถูกวิธีมากกว่าร้อยละ 80 |
50.00 | 80.00 |
2 | เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองเด็กเล็ก รู้จักวิธีในการดูแลเด็กที่ป่วยเป็นโรคติดต่อ 3.ครูและผู้ปกครองรู้จักวิธีในการดูแลเด็กป่วยเป็นโรคติดต่อมากขึ้น มากกว่าร้อยละ 80 |
50.00 | 80.00 |
3 | เพื่อเผยแพร่คำแนะนำ การล้างมือและการรักษาสุขอนามัย ครูและผู้ปกครองได้แนะนำเด็กล้างมือที่ถูกวิธี มากกว่าร้อยละ 80 |
50.00 | 80.00 |
4 | เพื่อเป็นการป้องกัน ควบคุม และลดอัตราการเกิดโรคมือ เท้า ปาก ลดอัตราการเกิดโรคมือ เท้า ปากเหลือไม่เกินร้อยละ 3 |
5.00 | 3.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 9,940.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 30 ม.ค. 68 | กิจกรรมกำหนดวันอบรม จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม จำนวน 36 คน | 0 | 500.00 | - | ||
6 มี.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยวิทยากรจากสาธารณสุข | 0 | 2,680.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 | กิจกรรมสาธิตการล้างมือ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข | 0 | 6,760.00 | - |
เด็กในสังกัดศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านม่วงทวน
1.ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองเด็กเล็ก คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อต่างๆที่จะเกิดกับเด็ก มือ เท้า ปาก โรคไข้หวัด โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดง
2.รณรงค์การป้องกันโรค ด้วยการล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย
3.ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองเด็กเล็ก และคณะผู้บริหารสถานศึกษา รู้จักวิธีในการดูแลเด็กที่ป่วยเป็นโรคติดต่อ
4.ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและผู้ปกครองเด็กเล็ก ทราบถึงวิธีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรค
5.ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองเด็กเล็ก ได้รู้ถึงวิธีการการดูแลสุขภาพ เรื่องโรคติดต่อต่างๆ พฤติกรรมอนามัยที่ช่วยป้องกันโรติดต่อ โดยเฉพาะการล้างมือและการรักษาสุขภาพอนามัย สภาพแวดล้อม
6.เป็นการป้องกัน ควบคุม และลดอัตราการเกิดโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้หวัด โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้เลือดออก และโรคตาแดงในสถานศึกษาและที่บ้าน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2568 00:00 น.