โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด |
รหัสโครงการ | L5300-68-1-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด |
วันที่อนุมัติ | 10 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 12,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายธีระ จันทร์ทองพูน |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.625,100.12place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดทารกก่อนกำหนด | 60.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผู้หญิงหลายคนอาจมีความเสี่ยงซ่อนอยู่เมื่อตั้งครรภ์อาจมีผลต่อสุขภาพของตนเอง เช่น ฟันผุ โลหิตจางความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ บางรายมีประวัติการผ่าตัดคลอด ประวัติเจ็บป่วยในครอบครัว อาจมีผลต่อบุตรในครรภ์ได้ หากสงสัยว่าตั้งครรภ์ สตรีตั้งครรภ์ทุกท่านควรเข้ามาฝากครรภ์ทันทีที่ทราบหรือหรือภายใน 12 สัปดาห์แรก เพื่อให้แพทย์ค้นหาความเสี่ยง และความเจ็บป่วยในสตรีตั้งครรภ์ แพทย์จะได้นำความเสี่ยงที่พบมารักษา รวมถึงได้รับคำแนะนำเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อไป ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ที่เรียกว่าทารกเกิดก่อนกำหนดมีโอกาสเสียชีวิตและพบภาวะแทรกซ้อน ทำให้ทารกมีความพิการในช่วงหลังคลอด บางรายอาจมีพัฒนาการล่าช้า หากทารกรายนั้นมีความพิการ ครอบครัวและภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและดูแลรักษาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4- 5 ปี จากวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนทีปังกรนภัทรบุตร พบว่า ประมาณร้อยละ 50-60 ของการคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นในตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีโรค หรือ ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ บางรายเกิดจากพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ก่อให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์เหล่านั้นยังขาดความรู้เรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะคลอดก่อนกำหนด จึงเข้ามารักษาล่าช้าเป็นเหตุให้การยับยั้งภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมักไม่ประสบผลสำเร็จ จากการศึกษาหญิงคลอดบุตรก่อนกำหนดในโครงการวิจัย พบว่า ประมาณร้อยละ 62 ของหญิงคลอดก่อนกำหนดไม่เคยมีความรู้เรื่องภาวะคลอดก่อนกำหนดมาก่อน และเมื่อมีอาการภาวะคลอดก่อนกำหนดและอาการผิดปกติอื่นๆมักเดินทางมารับการรักษาล่าช้าเป็นเหตุให้ไม่สามารถให้การยับยั้งการคลอดก่อนกำหนดได้ ด้วยเหตุนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลคลองขุด จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก ลดภาวะคลอดก่อนกำหนดขึ้น เพื่อขับเคลื่อนความรู้ “เรียนรู้ ร่วมแรง รณรงค์ ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด”
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | หญิงตั้งครรภ์/ผู้ดูแล/แกนนำสุขภาพ ทราบอันตรายจากการคลอดก่อนกำหนด
|
60.00 | 50.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 40 | 12,600.00 | 0 | 0.00 | 12,600.00 | |
27 ม.ค. 68 - 31 มี.ค. 68 | อบรมให้ความรู้ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด | 40 | 12,600.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 40 | 12,600.00 | 0 | 0.00 | 12,600.00 |
- หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัด
- หญิงตั้งครรภ์ได้รับการติดตามตั้งแต่ฝากครรภ์จนหลังคลอด
- หญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการสาธารณสุขในระดับชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2568 14:42 น.