โครงการกระชากวัยใจเต็มร้อย
ชื่อโครงการ | โครงการกระชากวัยใจเต็มร้อย |
รหัสโครงการ | L5300-68-2-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลคลองขุด |
วันที่อนุมัติ | 10 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 24,850.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางประไพ อุบลพงษ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.625,100.12place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 66 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น ประเทศไทยมีแผนระยะยาวมีนโยบายให้ความสำคัญต่อวงจรชีวิตช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ เพราะผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีประโยชน์ต่อสังคม ควรส่งเสริมให้คงคุณค่าไว้ให้นานที่สุด โดยยึดหลัก ผู้สูงอายุเป็นหลักชัยของสังคม พร้อมสร้างกระบวนการทางสังคมโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ให้เกิดการทำงานร่วมกัน ใช้กลไกคณะกรรมการเพื่อให้การดำเนินงานพัฒนาบรรลุเป้าหมายส่งผลถึงประชาขนทุกคนมีสุขภาพดี เนื่องจากสถานการณ์ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพกายดีสุขภาพจิตดีส่วนมากเป็นกลุ่มที่ติดสังคม การส่งเสริมสุขภาพเป็นการชะลอความเสื่อมของผู้สูงอายุไม่ให้เข้าสู่กลุ่ม ติดบ้าน ติดเตียง ให้สามารถดำรงชีวิตได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ มีสัมพันธภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลคลองขุด จึงได้เสนอโครงการกิจกรรมรำวงมาตรฐาน ซึ่งเป็นศิลปะแห่งการฟ้อนรำ การละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงความสุขสนุกสนาน มุ่งเน้นความสนุกรื่นเริงเป็นสำคัญ การฟ้อนรำเป็นคู่ๆเข้าจังหวะ หญิง ชาย เป็นการสร้างสัมพันธภาพทางสังคม เป็นการแสดงที่วิวัฒนามาจากการรำโทน ท่ารำต่างๆเป็นการออกกำลังกายทุกส่วนของร่างกาย ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการละเล่นรื่นเริงประจำชาติ จึงมอบหมายให้กรมศิลปกรปรับปรุง จัดระเบียบและพัฒนาเนื้อร้อง ทำนอง ลีลาท่ารำ การแต่งกาย เสียใหม่ให้เป็นที่นิยมมากขึ้น จึงเป็นศิลประดับชาติ ที่ควรอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานในโอกาสต่อไป ท่ารำ ๑๐ ท่า ๑ เพลงงามแสงเดือน ๒ เพลงชาวไทย ๓ เพลงรำซิมารำ ๔ เพลงคืนเดือนหงาย ๕ เพลงดวงจันทร์ ๖ เพลงดอกไม้ของชาติ ๗ เพลงหญิงไทยใจงาม ๘ เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า ๙ เพลงยอดชายใจหาญ ๑๐ เพลงบูชานักรบ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 66 | 24,850.00 | 0 | 0.00 | 24,850.00 | |
27 ม.ค. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการ | 66 | 24,850.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 66 | 24,850.00 | 0 | 0.00 | 24,850.00 |
ผลผลิต
๘.๑ ผู้สูงอายุมีความสุขสนุกรื่นเริง คลายความเครียด ความกังวลใจ มีความมั่นใจในตนเอง มีสัมพันธภาพที่ดีต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
๘.๒ สุขภาพกายดีขึ้น เดินได้คล่อง ยกแขน ขาได้ดี ความจำดีขึ้นสามารถจำท่ารำได้ มีความกระตือรือร้นที่จะร่วมกิจกรรม
ผลลัพธ์
ผู้สูงอายุมีความสุขสนุกรื่นเริง พูดคุยหยอกล้อกับเพื่อนๆ เดินได้คล่องสมรรถภาพทางร่างกายแข็งแรง จิตใจ แจ่มใสเบิกบาน อาการปวดเมื่อยตามร่างกายลดลง ช่วยเหลือตนเองได้ดี ไม่เป็นภาระแกครอบครัว ชุมชน สังคม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2568 15:20 น.