โครงการส่งเสริมติดตามพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมติดตามพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา |
รหัสโครงการ | 2568-L3310-1-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา |
วันที่อนุมัติ | 3 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 12,960.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายพงษ์ศักดิ์ เผือกสม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.442766199,100.1320688place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงวัยแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยเด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการ
ตามวัยที่ดีในแต่ละด้าน จะทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงหรือล่าช้าของพัฒนาการด้านหนึ่งด้านใด ก็จะมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่นตามไปด้วย จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก ๐ – 5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา 3 ปีย้อนหลัง พบว่า ปี 2565 พบเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้ากว่าร้อยละ 16.05 ปี 2566 ร้อยละ 18.29 และปี 2567 ร้อยละ 29.96 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มที่สูงขึ้น โดยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าด้านการการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก ๐ – 5 ปี กว่าร้อยละ ๗๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ
ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมติดตามพัฒนาการเด็ก ๐ – 5 ปีขึ้น ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น อบต.เขาชัยสน โดยบูรณาการร่วมกับชุมชนในการพัฒนาเครื่องมือให้อาสาสมัครสาธารณสุขช่วยกันเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ เพื่อช่วยในการค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าและผิดปกติในด้านต่างๆได้เร็วยิ่งขึ้น และได้เข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ส่งเสริมให้ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก มีความรู้และทักษะในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย |
||
2 | เพื่อให้เด็ก0-5 ปี ทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัยที่กำหนด ร้อยละ 90 ของเด็ก0-5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัยที่กำหนด |
||
3 | เพื่อให้เด็ก0-5 ปี ที่ตรวจพบพัฒนาการล่าช้า ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ เด็ก0-5 ปี ที่ตรวจพบพัฒนาการล่าช้า ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการทุกราย |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และแกนนำอสม. เรื่องการตรวจและส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย 0- 5 ปี 1 วัน จำนวน 48 คน 1.1 ประเมินความรู้ก่อนและหลังอบรม 1.2 ให้ความรู้ ฝึกทักษะ วิธีการตรวจคัด กรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ให้คำแนะนำการฝึกกระตุ้นและสังเกตพัฒนาการเด็ก
- กิจกรรมประเมินเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ และบันทึกในคู่มือเฝ้าระวังทุกเดือน
- กระตุ้น ติดตามหากพบเด็กมีพัฒนาการที่สงสัยล่าช้า
- จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ให้กับเด็กและผู้ปกครองรวม 24 คน เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 6 เดือน
- ค่าอาหารกลางวัน 48 คน x 70 บาท = 3,360 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 48 คน x 25บาท x 2 มื้อ = 2,400 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมง x 600 บาท =3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 24 คน x 25 บาท x 6 มื้อ = 3,600 บาท
รวม 12,960 บาท
- เด็ก0-5 ปี ทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัยที่กำหนด
- ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และแกนนำอสม. มีความรู้และทักษะในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย
- เด็กที่ตรวจพบพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้น และส่งพบแพทย์กรณีผิดปกติ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2568 16:44 น.