โครงการขยะปันสุข
ชื่อโครงการ | โครงการขยะปันสุข |
รหัสโครงการ | 68-L3321-2-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปันแต |
วันที่อนุมัติ | 4 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 20 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,750.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจุฬา รักใหม่ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายประดับ ณ นิโรจน์ |
พื้นที่ดำเนินการ | หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มี.ค. 2568 | 31 ส.ค. 2568 | 14,750.00 | |||
รวมงบประมาณ | 14,750.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะ | 57.71 | ||
2 | ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน | 1,545.17 | ||
3 | ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่นการทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ | 66.69 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันปัญหาขยะ เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ ซึ่งยากที่จะแก้ไขและสาเหตุหนึ่งเกิดจากประชาชนไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้น ส่วนมากแล้วจะทิ้งลงข้างทางบ้าง หรือทิ้งลงตามแม่น้ำลำคลองบ้างและสำหรับการทิ้งขยะลงแม่น้ำจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่คนทั่วไปไม่รู้จักการคัดแยกขยะ นอกจากนี้ คสช.ได้กำหนดให้ขยะเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเป็นการสนองนโยบายและการแก้ไขปัญหาขยะ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปันแต จึงต้องสร้างจิตสำนึกของการห้ามทิ้งขยะโดยปลูกฝังให้แก่เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไปพร้อมทั้งจัดหาวิธีการดำเนินการจัดการเกี่ยวกับขยะเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เนื่องจากการคัดแยกขยะมีประโยชน์มาก พร้อมกับเสนอวิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง เพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนการจัดการขยะที่ถูกต้อง
ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนในหลายๆด้าน และมีลักษณะคล้ายกันเกือบทั่วประเทศ ทำให้เกิดมลพิษทางดิน น้ำ และอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆและพาหนะนำโรค ทำลายทัศนียภาพ อีกทั้งก่อให้เกิดเหตุรำคาญเกิดปัญหาเรื่องกลิ่น แมลงรบกวนในชุมชน ปัญหาด้านขยะมูลฝอยเกิดขึ้นกับชุมชนทุกแห่ง ทั้งเมืองขนาดเล็ก ถึงเมืองใหญ่ในตัวจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือแม้กระทั้งในชุมชนเอง ตำบลปันแต ก็เป็นอีกตำบลหนึ่งประสบกับปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการแบบเดิมๆ คือ การฝั่งกลบและเผากลางแจ้ง ซึ่งเป็นวิธีการจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกวิธี จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปนเปื้อนของมลพิษต่อดิน แหล่งน้ำ ที่สำคัญกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆและแหล่งพาหนะนำโรค ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปันแต ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการขยะ ปันสุข ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ต้นทาง ระหว่างทาง และปลายทาง สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆและลดพาหนะนำโรคเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนตำบลปันแต ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึกในการลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชน ประชาชนในมีจิตสำนึกในการลดปริมาณ ขยะมูลฝอยในชุมชน |
57.71 | 75.00 |
2 | เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ อสม.มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ |
67.15 | 75.00 |
3 | เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยกและการนำกลับมาใช้ใหม่ อสม. มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและการนำกลับมาใช้ใหม่ |
55.00 | 75.00 |
4 | เพื่อให้มีความรู้และสามารถนำวิธีการกำจัดขยะประเภทต่าง ๆ มาใช้อย่างถูกต้อง และบริหารจัดการขยะด้วยตนเอง อสม. มีความรู้และสามารถนำวิธีการกำจัดขยะประเภทต่าง ๆ มาใช้อย่างถูกต้อง และบริหารจัดการขยะด้วยตนเอง |
55.00 | 75.00 |
5 | เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน ปริมาณขยะในชุมชนลดลง |
66.69 | 80.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | อบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/ การจัดการขยะแบบ 3 Rs/สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือน ด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน(1 มี.ค. 2568-31 ส.ค. 2568) | 14,750.00 | ||||||
รวม | 14,750.00 |
1 อบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/ การจัดการขยะแบบ 3 Rs/สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือน ด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 60 | 14,750.00 | 0 | 0.00 | 14,750.00 | |
1 มี.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/ การจัดการขยะแบบ 3 Rs/สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือน ด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน | 60 | 14,750.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 60 | 14,750.00 | 0 | 0.00 | 14,750.00 |
1.อสม. ทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะและมีจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะ 2.อสม. มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs การนำกลับมาใช้ใหม่ วิธีการกำจัดขยะแบบประเภทต่าง ๆ อย่างถูกวิธีและสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดผลได้จริง 3. บ้านเรือนของ อสม.เป็นบ้านเรือนที่ถูกหลักสุขาภิบาลและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี 4. อสม. สามารถบริหารจัดการตนเองในการคัดแยกขยะในนชุมชนมีปริมาณลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2568 13:36 น.