กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ5 มิถุนายน 2568
5
มิถุนายน 2568รายงานจากพื้นที่ โดย L3367-0003
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ 1.การคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีการตรวจคัดกรองโรคเชิงรุกในพื้นที่ เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน 2.มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารในแต่ละมื้อ เช่น การลดปริมาณการบริโภคแป้งและน้ำตาล หรือการลดจำนวนคาร์บเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติการเสี่ยงของโรค การให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคต่างๆ เพิ่มการกินผัก โดยมีการอบรมให้ความรู้ จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 75 คน รวม 2 วัน  โดยเชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลศรีบรรพต  จำนวน 2 คน คือ คุณพรทิพย์  เรืองพุทธ  และคุณพรเพ็ญ  มากเอียด  ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  โดยให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง  การดูแลสุขภาพตนเอง  เรื่อง  การกินอาหาร  การออกกำลังกาย  เน้นการออกกำลังการที่เพียงพอ  และเน้นการบริโภคผักอย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัม  ปลูกผักกินเองบริเวณบ้านเรือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้สามารถนำความรู้ไปปรับเปลี่ยนพฟ๖ิกรรมตนเองได้ 2.

การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน1 พฤศจิกายน 2567
1
พฤศจิกายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย L3367-0003
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชน  มีการดำเนินการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังเชิงรุกในชุมชน  ทั้ง  4 หมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ  จำนวน  1022  คน  ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน  จำนวน 934  คน คิดเป็นร้อยละ 91.39  พบว่าประชาชนปกติไม่เป็นร้อย  จำนวน  572  คน  ร้อยละ 61.2  พบกลุ่มเสี่ยง  จำนวน 342  คน ร้อยละ 36.6  และกลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 18 คน ร้อยละ 1.9  และได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง  จำนวน 812 คน คิดเป็นร้อยละ 92.69  พบว่ากลุ่มปกติ  จำนวน 393 คน  ร้อยละ48.40  กลุ่มเสี่ยง  จำนวน 298  คน  ร้อยละ 36.70  และกลุ่มสงสัยป้่วย  จำนวน  108 คน  ร้อยละ  13.30  จากผลการตรวจคัดกรอง  ได้ตรวจติดตามกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานให้ได้รับการตรวจยืนยันโดยการเจาะข้อพับเจาะหลอดเลือดดำ  จำนวน  15  คน คิดเป็นร้อยละ 83.33  พบผู้ป่วยที่ต้องได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน  จำนวน  2 คน  และ กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้ให้  อสม. ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน  คนละ  1 สัปดาห์  ติดตามหลังจากการตรวจคัดกรอง  3 เดือน  ได้ให้ชุมชน  ได้รับรู้ข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่  และได้วางแผนการดำเนินงานกับกลุ่มเสี่ยง  ต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงาน 2.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ  จำนวน 59  คน