กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุกตำบลทุ่งตำเสา
รหัสโครงการ 68-L5275-01-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 211,042.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาลัชฎาวรรณ สุวรรณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์มีความสำคัญต่อภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์โดยองค์การยูนิเซฟได้ประมาณการว่า การขาดสารอาหารในสตรีตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อมารดาและทารก ซึ่งพบทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมากถึงกว่า ๒๐ ล้านคนต่อปีทั่วโลก นอกจากนี้การขาดสารอาหารยังส่งผลต่อการพัฒนาของรก รกมีขนาดเล็กและเลือดมาเลี้ยงลดลง เกิดภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกคลอดก่อนกำหนด สอดคล้องกับการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลังสหสถาบัน : ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในมารดาที่มีภาวะขาดสารอาหาร พบความชุกของภาวะขาดสารอาหารในมารดา ร้อยละ ๑๖.๘๕ และมารดากลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดจางก่อนคลอด ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐กรัม และมีภาวะคลอดก่อนกำหนด (พิมพ์ใจ มาลีรัตน์ และคณะ ๒๕๖๕)
ข้อมูลระบบสารสนเทศเพื่อการกำกับติดตามระดับเขตสปสช.๑๒ สงขลา ณ วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๗ อำเภอหาดใหญ่ ระบุหญิงตั้งครรภ์ มีผลHCT ซีด ร้อยละ ๑๔.๗๒ ใน ๘ ตำบล ไม่รวมตำบลทุ่งตำเสา แต่จากสถานการณ์มารดาและทารกตำบลทุ่งตำเสา ข้อมูลจากโรงพยาบาลหาดใหญ่ ปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ ระบุข้อมูลคลอด เท่ากับ ๑๓๓, ๑๐๔, และ ๑๐๕ รายตามลำดับ มีคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ ๙.๐๒, ๒.๘๘ และ ๕.๘๓ ตามลำดับ และในปี ๒๕๖๖ ตำบลทุ่งตำเสามีมารดาเสียชีวิตหลังคลอด ๑ ราย รวมถึงการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา วาระครั้งที่ ๑/๒๕๖๘ วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่พบปัญหาด้านการปกปิดข้อมูลการตั้งครรภ์ รวมถึงการไม่ให้ความร่วมมือของหหญิงตั้งครรภ์และญาติ ส่งผลต่อการติดตามดูแลสุขภาพของมารดาและทารกในพื้นที่ การพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กเป็นงานที่สำคัญที่จะทำให้เด็กเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ต้องมีกระบวนการดูแลพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งผลให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และเด็กมีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน และจำเป็นต้องมีกระบวนการบูรณาการ เพื่อเป้าหมายเด็กไทยแข็งแรง เก่งดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตามแนวทางการพัฒนาและอภิบาลระบบสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน เน้นฐานการแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนและครอบครัว ภาคีเครือข่าย งานส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุกตำบลทุ่งตำเสา ขึ้น โดยบูรณาการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมด้านโภชนาการของมารดาและทารก ลดอันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอด มารดาและทารกมีภาวะโภชนาการที่ดี ได้รับบริการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ครบวงจรตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด อันส่งผลให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการสมวัย และเติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑) เพื่อส่งเสริมการตั้งครรภ์คุณภาพ ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์และได้รับการดูแลสุขภาพตลอดอายุครรภ์

๑) ร้อยละ ๘0 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์

0.00
2 ๒) เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมของหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอด

1) ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ ไม่มีภาวะซีดก่อนคลอด 2) ร้อยละ ๘0 ของทารกแรกเกิด มีน้ำหนักมากกว่าหรือเท่ากับ 2,500 กรัม

0.00
3 ๓) เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน

๔)  ร้อยละ 50 ของทารกแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 20 211,042.00 1 500.00
1 - 28 ก.พ. 68 ๒. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 0 2,910.00 -
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 ๓. กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการมารดาและทารก (จ่ายนม-ไข่) 0 204,000.00 -
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 ๔. กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ 0 2,932.00 -
1 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 ๕. กิจกรรมเฝ้าระวังสุขภาพมารดาและทารก (เยี่ยมบ้าน) 0 0.00 -
14 ก.พ. 68 ๑. ประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดแนวทางและแผนการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ 20 1,000.00 500.00
1 - 30 ก.ย. 68 ๖. สรุปและรายงานผลโครงการ 0 200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ ๒. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่ดี ไม่มีภาวะซีดก่อนคลอด ทารกแรกคลอดน้ำหนักมากกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ๓. ทารกแรกเกิดได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2568 14:25 น.