โครงการกำจัดเหาในนักเรียน โรงเรียนบ้านนาเกลือ
ชื่อโครงการ | โครงการกำจัดเหาในนักเรียน โรงเรียนบ้านนาเกลือ |
รหัสโครงการ | 68-L1466-02-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านนาเกลือ |
วันที่อนุมัติ | 3 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 29 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 15 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 10,790.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายภานุวัฒน์ จรูญสนองกิจ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายสาธิต โตกำ |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงเรียนบ้านนาเกลือ ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.326,99.466place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2568 | 29 ส.ค. 2568 | 10,790.00 | |||
รวมงบประมาณ | 10,790.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเหา เป็นโรคที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย และเครื่องนุ่งห่ม โรคเหาที่หนังศีรษะพบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน โดยจะสามารถติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีเหา หรือโดยทางอ้อมจากการใช้ของร่วมกัน เช่น หวี หมวก ผ้าพันศีรษะ หมอน เป็นต้น
เหาจะอาศัยอยู่ตามเส้นผม ตัวแก่ตัวเมียจะวางไข่ติดแน่นกับเส้นผม เวลา 7-10 วัน และเจริญเป็นตัวแก่ต่อในเวลา 2 สัปดาห์ ตัวแก่จะดูดเลือดจากผิวหนังบนศีรษะเป็นอาหาร เหาสามารถติดต่อได้นานเท่าที่มีตัวเหาและไข่เหาอยู่ตามร่างกาย โดยส่วนใหญ่เด็กที่เป็นโรคเหาจะมีอาการคันมาก อาจเกาจนหนังศีรษะถลอก อักเสบ และเป็นแผลติดเชื้อได้ อีกทั้งยังสร้างความรำคาญ รบกวนสมาธิในการเรียนตลอดจนการทำกิจกรรมต่างๆ บางรายอาจจะมีอาการคันมากในตอนกลางคืน ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ช้าลงกว่าปกติได้
โรงเรียนบ้านนาเกลือ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการ กำจัดเหาในนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเกลือ ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้นเพื่อกำจัดเหาให้หมดไป อันจะเป็นผลดีต่อสุขภาพของนักเรียน ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น และเป็นการช่วยลดการแพร่กระจายการติดต่อกับคนในครอบครัวอีกด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อกำจัดเหาในนักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านนาเกลือที่เป็นโรคเหา นักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านนาเกลือที่เป็นโรคเหา ได้รับการกำจัดเหา ร้อยละ 100 |
||
2 | เพื่อสร้างความตระหนักโดยการให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับโรคเหา การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย และไม่กลับมาเป็นเหาซ้ำอีก นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเหา การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย และไม่กลับมาเป็นเหาซ้ำอีก ร้อยละ 100 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมกำจัดเหาแก่นักเรียนหญิง โรงเรียนบ้านนาเกลือ(1 ม.ค. 2568-29 ส.ค. 2568) | 0.00 | ||||||||
รวม | 0.00 |
1 กิจกรรมกำจัดเหาแก่นักเรียนหญิง โรงเรียนบ้านนาเกลือ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | |
- นักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านนาเกลือที่เป็นโรคเหาได้รับการกำจัดเหา และไม่กลับมาเป็นเหาซ้ำ
- นักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านนาเกลือ มีความตระหนัก มีความรู้เกี่ยวกับโรคเหา การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย และไม่กลับมาเป็นเหาซ้ำอีก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2568 15:05 น.