โครงการสตรีคลองขุดร่วมใจออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ชื่อโครงการ | โครงการสตรีคลองขุดร่วมใจออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ |
รหัสโครงการ | L5300-68-2-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มสตรีตำบลคลองขุด |
วันที่อนุมัติ | 10 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางทิพวรรณ ซ่อนศรี |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.625,100.12place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน | 40.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมมีมากขึ้น มนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต ทำให้การใช้กล้ามเนื้อและพลังกายลดลงส่งผลต่อสมรรถภาพร่างกาย และคุณภาพการปฏิบัติงานในหน้าที่ลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ ตามรายงานการค้นคว้าทางการแพทย์ยืนยันว่า การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาเพียงวันละ ๓๐ นาที และงดสิ่งเสพติดทั้งหลาย จะช่วยทำให้สมรรถภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง อีกทั้งยังลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความตันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า นอนหลับสบาย มีสุขภาพดีขึ้น
จากการเก็บข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพของสมาชิกในกลุ่มสตรีตำบลคลองขุด ส่วนใหญ่มีมีการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอกับช่วงวัย บางคนไม่ได้ออกกำลังกายเลย ทำให้มีน้ำหนัก ค่า BM! และรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน การขาดการออกกำลังกาย ทำให้การเผาผลาญพลังงานลดลง ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และทำให้การไหลเวียนโลหิตน้อยลง ส่งผลให้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นภัยเงียบที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ปัจจุบันพบว่าคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ถึง ๓๗ คน/ชั่วโมง หรือ ๗๒๐,๐๐๐ คน/ปี และคาดว่าในอนาคตมีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเต้นบาสโลบเป็นการออกกำลังกายที่มีแบบแผนและมุ่งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของสมอง และการเคลื่อนไหวทางร่างกาย ให้มีความสอดคล้องกัน ช่วยเสริมสร้างความจำและความแข็งแรงแก่ผู้ที่ออกกำลังกาย มีการขยับร่างกายทุกส่วน ได้ขยับทั้งแขน ขา เท้า และการโยกย้ายส่ายสะโพกตามทำนองเพลง การเต้นแบบนี้ช่วยย่อยอาหารได้ดี เพราะร่างกายจะหลั่งสารออกมาให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี และการเต้นพร้อมบทเพลง จะทำให้มีอารมณ์ที่สนุกสนาน ทำให้จิตใจดีขึ้น ที่สำคัญการเต้นแบบนี้ ทำให้ได้เจอเพื่อนฝูง ทำให้ไม่เหงา และได้พูดคุยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ๆ อีกด้วย และการเต้นบาสโลบสามารถประยุกต์กายเพื่อให้เหมาะสมกับช่วงวัย เพราะหากได้ท่าเต้นแล้วสามารถเลือกจังหวะเพลงช้า เร็วได้
กลุ่มสตรีตำบลคลองขุด จึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ให้อารมณ์แจ่มใส จิตใจเบิกบาน ลดความเครียดได้ ส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันในสังคม โดยมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตามโอกาสเหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการสตรีคลองขุดร่วมใจออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน |
40.00 | 50.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 140 | 15,000.00 | 0 | 0.00 | 15,000.00 | |
30 ม.ค. 68 - 30 พ.ค. 68 | ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการ | 35 | 875.00 | - | - | ||
30 ม.ค. 68 - 30 ส.ค. 68 | กิจกรรมประชุมชี้แจงและตรวจสุขภาพผู้ร่วมโครงการ | 35 | 875.00 | - | - | ||
30 ม.ค. 68 - 30 ก.ค. 68 | อบรมการดูแลสุขภาพและออกกำลังกายเชิงปฏิบัติการ | 35 | 8,050.00 | - | - | ||
30 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ออกกำลังกายโดยการเต้นบาสโลบ | 35 | 5,200.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 140 | 15,000.00 | 0 | 0.00 | 15,000.00 |
ผลผลิต ปะชาชนมีกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของสมาชิกชมรม ผลลัพธ์ ประชาชนและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความตันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน) มีความตระหนักถึงการออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งมีแกนนำในการออกกำลังกาย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2568 15:31 น.