โครงการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กโรงเรียนบ้านเหรียงงาม ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กโรงเรียนบ้านเหรียงงาม ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3366-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลศรีบรรพต |
วันที่อนุมัติ | 5 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,980.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายแพทย์ชุติมันต์ พงศ์ไตรภูมิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | พื้นที่ตำบลเขาปู่ |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละเด็กอายุ 6 - 12 ปี มีภาวะซีด | 8.33 | ||
2 | ร้อยละของเด็กอายุ 6-12 ปี ได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก | 100.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นปัญหาสาธารณสุขไทยที่สำคัญ จากการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กไทยเด็กอายุ 6 เดือน - 12 ปี ระหว่าง 1 ตุลาคม - 30 กันยายน 2565 พบว่าเด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีภาวะโลหิตจางสูง ร้อยละ 34.4 เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุกร้อยละ 26 โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นและ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรคดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้แนะนำให้จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กอายุ 6 เดือน -5 ปี และยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนั้นยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง เมื่อเด็กอายุ 6-12 เดือน 3-6 ปี แต่ทางกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมยังเห็นความสำคัญในเด็กนักเรียนอายุ 6- 12 ปีด้วย จึงได้มีการจัดโครงการคัดกรองภาวะซีดในกลุ่มนี้เพิ่มเติม ทั้งนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน และหญิงวัยเจริญพันธ์ ดังนั้นกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต จึงจัดทำโครงการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเหรียงงาม ปีงบประมาณ 2568 เพื่อช่วยกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กปฐมวัยและเด็กโตให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ร้อยละเด็กอายุ 6 - 12 ปี มีภาวะซีด มีภาวะซีด น้อยกว่าร้อยละ 20 |
100.00 | 80.00 |
2 | ร้อยละเด็กอายุ 6 - 12 ปี มีภาวะซีด ได้รับการส่งต่อ เด็กที่มีภาวะซีดได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 90 |
50.00 | 50.00 |
3 | ร้อยละเด็กอายุ 6 - 12 ปี ได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก เด็กอายุ 6 - 12 ปี ได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ 80 |
100.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 14,980.00 | 0 | 0.00 | 14,980.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ให้ความรู้เรื่องอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงแก่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 | 0 | 14,980.00 | - | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | คัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 14,980.00 | 0 | 0.00 | 14,980.00 |
1.ร้อยละเด็กอายุ 6 - 12 ปี ไดรับการคัดกรองภาวะซีด ร้อยละ 80 2.ร้อยละเด็กอายุ 6 - 12 ปี มีภาวะซีด น้อยกว่าร้อยละ 20 3.ร้อยละเด็กอายุ 6 - 12 ปี ที่มีภาวะซีดได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 90
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2568 09:00 น.