กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลมูโนะโดยภาคีส่วนร่วมปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.มูโนะ
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2561
งบประมาณ 58,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสากีนะ กือจิ
พี่เลี้ยงโครงการ นายไซนัล นิรมาณกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.108,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคเมื่อยุงลายกัดผู้ป่วย เชื้อโรคจากผู้ป่วยจะเข้าสู่ตัวยุงและเมื่อยุงไปกัดอีกคน เชื้อโรคก็จะแพร่เข้าสู่ร่างกายของผู้นั้นทำให้เกิดเป็นโรคไข้เลือดออกตามมา ในปัจจุบันได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคนี้อย่างกว้างขวางทั้งประเทศมีผู้คนจำนวนมากที่ต้องเจ็บป่วยและต้องเสียชีวิตลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กและเด็กนักเรียน นับเป็นการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์อันมีค่ายิ่งของสังคมผู้ที่จะเป็นอนาคตและกำลังสำคัญของชาติไปอย่างน่าเสียดายที่สุด
สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในตำบลมูโนะ ในปี 2560มีผู้ป่วย ทั้งสิ้น3รายซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี2559 ซึ่งมีผู้ป่วยทั้งสิ้น6 ราย 2553จำนวน 22ราย คิดเป็นอัตราป่วย 251.31 ต่อแสนประชากร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี2559ที่มีผู้ป่วยเพียง2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 33.26 ต่อแสนประชากร พบว่าจำนวนผู้ป่วยในปี 2560 เพิ่มขึ้นอย่างมากจนเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคในทุกพื้นที่ของตำบลมูโนะ ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโดยมียุงลายเป็นพาหะ และมีอันตรายถึงแก่ชีวิต เพราะฉะนั้นแนวทางในการควบคุมโรคจะต้องดำเนินการอย่างเข้มข้น คือการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่รวมทั้งการปลูกจิตสำนึกในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกของประชาชนรวมทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมจากหน่วยงานในพื้นที่ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชนโดยชุมชน ซึ่งแนวทางการดำเนินงานของโครงการจะอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ในการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และการควบคุมโรคด้านอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ประชาชนในตำบลมูโนะปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วย / ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกในทุกกลุ่มอายุ ให้ลดน้อยลงหรือหมดไป 2. ลดดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในทุกหมู่บ้าน ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 3. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง 4. เพื่อประสานความร่วมมือของชุมชน โรงเรียน หน่วยงานราชการในพื้นที่ให้มีความร่วมมือในการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ อย่างต่อเนื่องและจริงจัง 5.เพื่อเสริมสร้างทีมงานการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 58,700.00 0 0.00
1 ต.ค. 60 - 31 ธ.ค. 61 ให้ความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก 0 58,700.00 -

1.จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ 2.แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ และคณะทำงาน SRRT ระดับตำบลในงานควบคุมโรคไข้เลือดออก 3.อบรมทีม SRRT ระดับตำบลในการเฝ้าระวังควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เพื่อเพิ่มทักษะของเจ้าหน้าที่ในการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย 4. ประชุมชี้แจงโครงการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติงานร่วมกัน 5. ดำเนินการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทุกหน่วยงาน
รวมทั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนสถานที่ราชการโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนจากทั้งภาคหน่วยงานราชการในพื้นที่และผู้นำชุมชนรวมถึง อสม.เป็นแกนนำในการดำเนินการ โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ และองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะเป็นผู้สนับสนุนติดตามกำกับดูแลช่วยเหลือ อย่างใกล้ชิดโดยมีกิจกรรมดังรายละเอียดคือ 6.การจัดกิจกรรม Big cleaning day ในหมู่บ้านที่มีผู้ป่วยซ้ำซากรวมถึงหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชนโรงเรียนโดยมีกิจกรรมการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายร่วมกันซึ่งจะกำหนดแผนการจัดกิจกรรมในแต่ละหมู่บ้าน โดยอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสุขภาพแต่ละหมู่บ้าน 7.กิจกรรมสำรวจดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย ทุกหมู่บ้าน ทุกโรงเรียนโดย ทีม อสม.แต่ละหมู่บ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วย / ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 2.ทุกหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.ทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
5.หน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2561 14:12 น.