โครงการนักเรียนวัยใส อนามัยดี ไม่มีเหา
ชื่อโครงการ | โครงการนักเรียนวัยใส อนามัยดี ไม่มีเหา |
รหัสโครงการ | 68-L1520-01-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | 29 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 8,810.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายธวัช ใสเกื้อ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.862,99.365place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะ ทั้งนี้ เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะและดูดเลือดเป็นอาหาร โดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนก่อนประถมและประถมศึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 4-14 ปี เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคม รวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย โดยมากนักเรียนที่เป็นเหามักเป็นผู้ที่มีสุขลักษณะส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง ประกอบกับมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง
เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ำเสมอแต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อกันได้ง่าย ทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัว การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียน คือต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
จากผลการดำเนินงานตรวจสุขภาพนักเรียนในปี 2567 พบว่านักเรียนเป็นเหา 96 คน จากนักเรียนทั้งหมด 118 คน คนคิดเป็นร้อยละ 81.36 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง จึงเห็นความสำคัญที่ต้องกำจัดเหาในโรงเรียน และให้สุขศึกษาแก่นักเรียนเพื่อสุขภาอนามัยที่แข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการนักเรียนวัยใส อนามัยดี ไม่มีเหาขึ้นเพื่อรณรงค์กำจัดโรคเหาในนักเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดของโรคเหาต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปงจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อสำรวจเก็บข้อมูลเด็กนักเรียนที่เป็นโรคเหาจากการตรวจผม
|
||
2 | 2. เพื่อใส่ยากำจัดเหาในนักเรียนที่เป็นเหา
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 8,810.00 | 0 | 0.00 | 8,810.00 | |
1 ก.พ. 68 - 30 ส.ค. 68 | สำรวจเก็บข้อมูลเด็กนักเรียนที่เป็นโรคเหา | 100 | 8,810.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 100 | 8,810.00 | 0 | 0.00 | 8,810.00 |
- กลุ่มเป้าหมายจะได้รับการตรวจเหาจากการตรวจผม
- กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบเหาได้รับการกำจัดเหา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2568 13:28 น.