กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เฝ้าระวังและควบคุมโรความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รหัสโครงการ 60-L2514-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มิถุนายน 2560 - 14 มิถุนายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 25 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารียะห์ ตาเห
พี่เลี้ยงโครงการ นาย อรรถพล ขวัญเกิด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.343,101.59place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 มิ.ย. 2560 14 มิ.ย. 2560 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งรัดระบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถือเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขอย่างหนึ่งที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะทีมงานสาธารณสุขร่วมกับภาคประชาชน และกลุ่มแกนนำต่างๆต้องร่วมกันดูแลสุขภาพตนเองให้ห่างไกลจากอุบัติการณ์ ของโรคไม่ติดเชื้อหรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรม โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ซึ่งต้องได้รับการควบคุม เพราะถ้าหากปล่อยให้โรคดังกล่าวเรื้อรังอยู่นานๆโดยไม่ได้รับการรักษามักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา เช่น โรคหัวใจ โรค ไต ตา เท้า หลอดเลือดสมอง เป็นต้น จะเกิดขึ้นรุนแรง หรือรวดเร็วเพียงใดขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะของโรค
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอูยิตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะมีจำนวนประชากร๕,๑๗๖คน จำนวน ๘๔๑ หลังคาเรือน มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด ๑๓๐ ราย โรคเบาหวาน ๒๕ รายจากข้อมูลสถิตติ ๓ ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ ๒๕๕๗-๒๕๕๙ พบว่า มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน ๗ ราย , ๒ ราย,๒ รายและมีผู้ป่วยสะสมที่เกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอัมพฤกษ์และอัมพาตจำนวนทั้งหมด๙รายทั้งนี้เกิดจากผู้ป่วยมีการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งด้านการบริโภค การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์และการรับประทานยายังไม่เหมาะสมและถูกต้องอันเนื่องมาจากขาดความต่อเนื่องการติดตามและการดูแลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ตลอดจนขาดการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดการพึ่งตนเองในการดูแล ดังนั้นการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะเสริมสร้างให้ผู้ป่วยและชุมชนมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อให้มีศักยภาพและมีความพร้อมในการดูแลสุขภาพของตนเองงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ ได้ให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยจึงจัดทำโครงการ เฝ้าระวังและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วย ครอบครัวและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสม ทำให้สามารถควบคุมและดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเอง ครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ ๘๐

2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ ๕๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นวางแผน(Plan) ๑.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ๒.เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓.แต่งตั้งผู้รับผิดชอบงาน ๔.ประชุม/ประสานอสม. แกนนำชุมชนเพื่อชี้แจงและปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการ ขั้นดำเนินการ(Do) ๑. ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ๒. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
๓. ตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานโดยทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและทีมอสม. ๔. จัดตั้งชมรมผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนโดยมีหมู่บ้านนำร่องหนึ่งหมู่บ้าน ๕. จัดทำคู่มือคู่ชีวิต พิชิตความดันเบาหวานสำหรับผู้ป่วย ๖. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ อสม.ครูพี่เลี้ยง เพื่อเป็นที่ปรึกษาและติดตามผู้ป่วย ๗. ผู้นำศาสนาให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยตามวิถีมุสลิมโดยยึดหลัก ๔อ.(อีหม่าน อีบาดะห์ เอียะซาน อิสตีกอมะห์) สู่การปฏิบัติตามหลัก ๓อ.๒ส. ๔อ.(อีหม่าน อีบาดะห์ เอียะซาน อิสตีกอมะห์) อ.อีหม่าน(หลักการศรัทธา) อ.อีบาดะห์ (การปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม เพื่อให้ได้ผลบุญและเพื่อสุขภาพ) อ.เอียะซาน (การวัดผล/ประเมินผล) อ.อิสตีกอมะห์(ความต่อเนื่อง) ๓อ.๒ส.(อาหารออกกำลังกาย อารมณ์สุราสูบบุหรี่) อาหาร(ควบคุมอาหารโดยการถือศิลอด ทุกวันจันทร์กับวันพฤหัสบดีตามแบบอย่างของท่าน ศาสดานบีมูฮำหมัด (ซล.) รับประทานอาหาร ๑ ส่วน น้ำ ๑ ส่วนว่าง ๑ ส่วน) อาหารต้องฮาลาลันและตอยยีบัน(อาหารที่ได้รับการอนุมัติจากอัลลอฮและอาหารที่รับประทานต้องมีประโยชน์ มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับผู้ป่วย ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว) ออกกำลังกาย(ออกกำลังกายตามวิถีชีวิต สอดคล้องกับหลักอิสลาม) อารมณ์(อ่านอัลกุรอาน/กีรออาตี/บรรยายธรรม ) ๘.ดำเนินกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองในชุมชน เดือนละ ๑ ครั้ง โดยผู้ป่วยและชุมชนมีส่วนร่วมในการวัดระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดกันเองโดยใช้บ้าน ๗ สี ตามหลักทฤษฏีปิงปอง ๗ สี พร้อมบันทึกข้อมูลลงในสมุดคู่มือ คู่ชีวิต พิชิตความดันเบาหวาน เพื่อให้ทราบระดับความรุนแรงของค่าความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยในแต่ละเดือน ทำให้ผู้ป่วยมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองและสามารถควบคุมระดับความดันและเบาหวานให้ดีขึ้น
ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check) ๑. ประเมินจากจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม ๒. ติดตามและประเมินผลการควบคุมระดับความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือด ๓. ประเมินจากทะเบียนติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหาน ๔.สรุปผลการดำเนินงาน

ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑.รายงานผลการดำเนินงาน ๒.ประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ๓.ปรับปรุง/พัฒนาวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยได้รับความรู้ ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง ๒. ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2560 12:27 น.