กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู (Leptospirosis) ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L1520-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่าวตง
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรพล สุขาทิพย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์อุทกภัย ภัยพิบัติในพื้นที่ปัจจุบัน ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งพื้นที่อำเภอวังวิเศษเป็นพื้นที่ราบลุ่มพื้นที่เกษตรกรรมด้านการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันอีกทั้งยังมีบริเวณที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทั้งในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันและบริเวณที่อยู่อาศัย ประกอบกับภาคใต้มีฤดูฝนติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งในปี 2567 มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ประชาชนขาดรายได้ ไม่สามารถไปทำงานตามปกติได้ ประชาชนที่ทำสวนก็มีปัญหาน้ำท่วมที่ทำกิน จึงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเดินย่ำโคลนหรือพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า ฝนที่ตกหนักติดต่อกันเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospirosis) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันเนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้
สรุปสถานการณ์โรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 (ข้อมูลจากระบบรายงานระบบแพลตฟอร์มเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในรูปแบบดิจิทัล Digital Disease Surveillance : DDS) ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) สะสมรวม 4,573 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 7.04 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 49 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.07 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 1.06 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1 : 0.29 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 55 - 64 ปี (19.75%) รองลงมากลุ่มอายุ 45 - 54 ปี (18.67%) อาชีพของผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 32.10 อาชีพในความปกครอง/ไม่ทราบอาชีพ ร้อยละ 25.30 และ รับจ้าง ร้อยละ 21.50
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเลปโตสไปโรสิส ชุมชนอย่างเร่งด่วนแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคโรคเลปโตสไปโรสิส ในช่วงฤดูฝนและช่วงน้ำท่วม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรสิสลดลงน้องกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (2563 – 2567 )
  1. อัตราป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรสิสลดลงน้องกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (2563 – 2567)
2 2. เพื่อให้แกนนำด้านสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเลปโตสไปโรซีสและการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนู

2 ร้อยละ 80 แกนนำด้านสุขภาพมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโรคเลปโตสไปโรซีสและการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนู

3 3. เพื่อให้ อสม./อบต./กรรมการ/ผู้นำชุมชนและประชาชนทั่วไปปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน
  1. ร้อยละ 95 ของครัวเรือนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่าวตงมีการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (1,2,4,5,6,9,11,12,13,15)
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,750.00 0 0.00 4,750.00
10 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมพัฒนาระบบการป้องกันโรค โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน 0 4,750.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 4,750.00 0 0.00 4,750.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีสและสามารถป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนูและกำจัดพาหะนำโรคได้ด้วยตัวเอง       2. สามารถลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีสในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่าวตง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2568 15:17 น.