กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อย 0-5 ปีสุขภาพดีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ หมู่ที่ 3 - 5 - 6 และหมู่ที่ 7 ตำบลช้างเผือก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
รหัสโครงการ 68-L2475-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 18,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัสนีซา บินเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.997,101.573place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์
74.30

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นกลวิธีในการป้องกันควบคุมโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด ประเทศไทยได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตั้งแต่ ปี 2520 เป็นต้นมา โดยผสมผสานการดำเนินงานเข้ากับงานบริการสาธารณสุขตามปกติ และพัฒนาเร่งรัด การดำเนินงานด้วยวิธีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายและชนิดของวัคซีนให้มากขึ้น มีการปรับปรุงระบบการกระจายวัคซีนและบริหารจัดการแก่ผู้มารับวัคซีน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพดีและครอบคลุมอย่างทั่วถึง มีกลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มเด็กวัยเรียน และหญิงตั้งครรภ์ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความสำเร็จในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็นอย่างมาก กล่าวคือ การครอบคลุมการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบชุดครบถ้วนในเด็กต่ำกว่า 1 ปี และในภาพรวมของประเทศอยู่ในระดับเกินกว่าร้อยละ 90 ส่งผลกระทบให้สามารถลดอัตราป่วย อัตราตาย ในโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักในเด็กแรกเกิด และหัดลงได้มากกว่าร้อยละ 90 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะก่อนดำเนินการ ที่สำคัญไม่พบผู้ป่วยโปลิโอมาเป็นเวลากว่า 15 ปี ด้วยสภาพการณ์ปัจจุบันภายหลังจากที่มีการปฏิรูประบบสาธารณสุข ทำให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กรและหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคมีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหลายด้านซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังกล่าวล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการวัคซีนเป็นอย่างมาก
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าไอร์ซือเร๊ะ เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ร้อยละ 74.28 (เกณฑ์ร้อยละ 95) ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ ไม่ผ่านตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนด จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ เพื่อป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวต่อไปในอนาคตดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล      บ้านไอร์ซือเร๊ะจึงจัดทำโครงการรณรงค์ให้บริการฉีดวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ในเด็ก 0 – 5 ปี ขึ้น เพื่อรณรงค์การรับบริการฉีดวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ในเด็กอายุ 0 – 5 ปี และเพื่อให้การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสามารถคงรักษาระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 5 ปี มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้ที่ถูกต้องและตระหนักถึงความสำคัญของการรับวัคซีนตามนัด ร้อยละ 90

90.00
2 เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็ก อายุ 0-5 ปี

เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุร้อยละ 90

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรม ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน 20 1,500.00 -
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้ 90 12,000.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรม ลงเยี่ยมบ้านและติดตามเด็ก 0 4,800.00 -
รวม 110 18,300.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้ที่ถูกต้องและตระหนักถึงความสำคัญของการรับวัคซีนตามนัด เพื่อยับยั้งและป้องกันการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  2. เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุร้อยละ 90
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2568 11:06 น.