กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกลุ่มสตรีลาโละด้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 60-L2514-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาสือเต๊าะบือราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอาหะมะ เจ๊ะโซ๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสาะ
ละติจูด-ลองจิจูด 6.343,101.59place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ต.ค. 2560 15 พ.ย. 2560 12,400.00
รวมงบประมาณ 12,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทยและรองลงมามะเร็งปากมดลูก ซึ่งทำให้เป็น ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี และการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและ ในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการทำ pap smearในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปีทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้จากการสรุปผลการตรวจการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2556 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส พบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการตรวจการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธีร้อยละ 45.10 คัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพียงร้อยละ 15 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์ชี้วัดตามยุทธศาสตร์ จังหวัดนราธิวาสซึ่งกลุ่มประชากรเป้าหมายของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จะต้องได้รับตรวจการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธีร้อยละ 80 และคัดกรองมะเร็ง ปากมดลูกร้อยละ 20 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสจึงจัดทำโครงพัฒนาเครือข่ายกลุ่มสตรีป้องภัยมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอัน จะช่วยทำให้พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรกไดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุตั้งแต่อายุ๓๐-๗๐ปี ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมร้อยละ ๘๐

๑.ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มสตรี อายุ ๓๐-๗๐ ปีได้รับการตรวจมะเร็งเต้านม

2 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุตั้งแต่อายุ๓๐-๖๐ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ ๒๐

๒.ร้อยละ ๒๐ ของกลุ่มสตรี อายุ ๓๐-๖๐ ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

3 เพื่อให้สตรีทั้ง ๒ กลุ่ม ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษา

๓.ร้อยละ ๑๐๐ ของกลุ่มสตรีอายุ๓๐ –๗๐ ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษา

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ๑. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อวางแผนในการดำเนินงาน ๒. สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย ๓. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการตรวจ ๔. จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ พร้อมบันทึกข้อความในการปฏิบัติงาน ๕. ประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องเช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ๖.อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายตรวจมะเร็งเต้านมและตรวจมะเร็งปากมดลูก ๖.๑สาธิตการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองโดยใช้หุ่นและให้ผู้เข้าร่วมอบรมสาธิตย้อนกลับและมีการแบ่งกลุ่มโดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง ๗. ตรวจมะเร็งปากมดลูกตามตารางการปฏิบัติงานและลง Program Pap Registry ๘.ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองโดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขแต่ละเขตเป็นรายผลการตรวจให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๙. การติดตามประเมินผล และสรุปผลการดำเนินโครงต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑.กลุ่มสตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี ๒.กลุ่มสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและได้รับการตรวจคัดกรอง ๓..ลดอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2560 12:30 น.