กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ NEW GEN เทศบาลเมืองปัตตานี ยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2568 (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 68-L7884-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานศูนย์บริการสาธารณสุขกะลาพอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 39,155.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสาอุดี เบ็ญราซัค ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมีปัญหาในสังคมเกิดขึ้นกับวัยรุ่นหลายด้านด้วยกันปัญหาที่เป็นปัญหาหลักๆในระดับประเทศ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาโรคเอดส์ปัญหาความรุนแรงซึ่งจากผลการศึกษาสถานการณ์ความรุนแรงของปัญหาของประเทศไทยปี 2563 พบว่าสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับความรุนแรงค่อนข้างสูงเห็นได้จากจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวนกว่าร้อยละ 35 เคยถูกผู้ดูแล (Caregivers) ทุบตี (Physical Punishment) หรือทำร้ายทางจิตใจ (Psychological Aggression) และในแต่ละปีมีเด็กมากกว่า 10,000 คน ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเนื่องจากถูกทำร้ายร่างกายโดยส่วนใหญ่เป็นการล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Abuse) สาเหตุเป็นเพราะ พ่อแม่ ผู้ปกครองส่วนหนึ่งของไทยยังเชื่อว่าการทำร้ายร่างกายเพื่อลงโทษเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนบุตรหลานของตน จากรายงานของกรมสุขภาพจิต สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าประเทศไทย มีวัยรุ่นไทย อายุ 10 - 19 ปี ประมาณ 1 ใน 7 คน และเด็กไทย อายุ 5 - 9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์,ร้อยละ 17.6 ของวัยรุ่น อายุ 13 - 17 ปี มีความคิดที่อยากฆ่าตัวตาย จึงต้องเร่งยกระดับคุณภาพและความรวดเร็วของบริการสุขภาพจิตของเด็กและวันรุ่นเพื่อเลี่ยงผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพพัฒนาการและอนาคต   ข้อมูลจากกลุ่มงานจิตเวข โรงพยาบาลปัตตานี พบว่าผู้รับบริการที่จิตแพทย์ ผลวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า ในช่วงอายุ 10 - 20 ปี ข้อมูลในปี 2566 จำนวน 231 ราย/ 808 ครั้ง,ปี 2566 จำนวน 454 ราย / 1,813 ครั้ง และปี 2567 จำนวน 784 ราย/ 2,080 ครั้ง   งานศูนย์บริการสาธารณสุขกะลาพอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานีได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาในสังคมที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและในการแก้ไขปัญหาในโลกยุคสมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสม เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสังคมไทยทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าต่อไป จึงได้มีการจัดโครงการ NEW GEN เทศบาลเมืองปัตตานี ยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพจิต ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาในวัยรุ่น 2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต และลดความเครียดให้กับผู้เข้าร่วมโครงการและกลุ่มเสี่ยง 3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ถึงปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบัน เช่นปัญหาความเครียดจากการเรียน ปัญหาการใช้สารเสพติด ปัญหาการมีพฤติกรรมรุนแรง ปัญหาการคบเพื่อนต่างเพศ 4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีแนวทางในการแก้ปัญหา แนวทางการปฏิบัติตัวและแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาในวัยรุ่น
  2. ส่งเสริมสุขภาพจิตและลดความเครียดให้กับผู้เข้าร่วมโครงการและกลุ่มเสี่ยง
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ถึงปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบัน เช่น ปัญหาความเครียดจากการเรียน ปัญหาการใช้สารเสพติด ปัญหาการมีพฤติกรรมรุนแรง ปัญหาการคบเพื่อนต่างเพศ
  4. ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีแนวทางในการแก้ปัญหาแนวทางการปฏิบัติตน และแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. คณะทำงานร่วมกันประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการฯ
  2. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  3. ประสานวิทยากร และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 120 คน
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. ดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้โดยวิทยากร ตามเนื้อหาดังนี้

- กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นในปัจจุบัน - เรื่องการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของวัยรุ่น - เรื่องเยาวชนกับการดูแลสุขภาพจิต และความฉลาดทางอารมณ์ - เรื่องทักษะในการส่งสาร การแก้ไขปัญหา การเข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น 6. ประเมินผลการดำเนินโครงการ 7. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาในวัยรุ่น
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ถึงปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบัน เช่นปัญหาความเครียดจากการเรียน ปัญหาการใช้สารเสพติด ปัญหาการมีพฤติกรรมรุนแรง ปัญหาการคบเพื่อนต่างเพศ และสามารถแสดงออกทางพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม
  3. ส่งเสริมสุขภาพจิตและลดความเครียดให้กับผู้เข้าร่วมโครงการและกลุ่มเสี่ยง
  4. ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีแนวทางในการแก้ปัญหา แนวทางการปฏิบัติตัว และแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2568 09:25 น.