กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริม ป้องกัน และดูแลสุขภาพตนเองของผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) ปีงบประมาณ 2568 (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 68-L7884-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานศูนย์บริการสาธารณสุขกะลาพอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 31 พฤษภาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 56,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสาอุดี เบ็ญราซัค ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลรายงานการให้บริการของสำนักงานแพทย์ เพื่อกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทยในการดูแลผู้เดินทางไปแสวงบุญ ณ ประเทศซาอุดีอาราเบีย ในปี 2567 มีผู้รับบริการทั้งหมด 7,738 คน ผู้ป่วยนอก 6,189 ครั้ง ผู้ป่วยใน 191 ราย ส่งต่อ 16 คน และเสียชีวิต 3 คน คือปัตตานี 1 คน (ภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน),ยะลา 1 คน (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง), นราธิวาส 1 คน (ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) เป็นผู้ชาย 2 คน ผู้หญิง 1 คน ผู้แสวงบุญจากจังหวัดปัตตานี เป็นผู้ป่วยนอก 1,549 ครั้ง เฉลี่ยร้อยละ 25 ผู้ป่วยใน 42 ครั้ง เฉลี่ยร้อยละ 21.9 โรคที่พบบ่อยในผู้แสวงบุญของจังหวัดปัตตานี 5 อันดับโรค คือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน 779 ครั้ง โรคปวดกล้ามเนื้อ 124 ครั้ง โรคผิวหนังอักเสบ 27 ครั้ง และอื่นๆ
  กระกวบการดูแลสุขภาพประชาชนผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) มีการปรับระบบบริการการดูแลสุขภาพ ทั้งก่อน ระหว่างไป และหลังเดินทางกลับมาจากการแสวงบุญ เป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่ส่งผลให้การเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจากการเดินทางไปแสวงบุญ (ทำฮัจย์) มีจำนวนลดลง ดังนั้น การเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจ ส่วนบุคคลและการเตรียมระบบการดูแลด้านสุขภาพของผู้เกี่ยวข้องทุกระดับจึนับว่าเป็นทางเลือกที่สำคัญ ที่จะส่งผลให้ประชาชนผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) มีการเจ็บป่วยและเสียชีวิตที่ลดลง   จากการดำเนินโครงการ ปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมา โดยมีกิจกรรมถอดบทเรียน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งมีข้อชื่นชมหลายด้าน เช่น การให้ความรู้ด้านการเตรียมตัวก่อนเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ การให้ความรู้จากวิทยากรที่ได้ไปปฏิบัติจริง ระยะเวลาที่อบรมที่เหมาะสม สถานที่จัดอบรมสะอาดและสะดวกต่อการเดินทาง ข้อเสนอแนะในการจัดโครงการฯ คือให้มีการเพิ่มความรู้เรื่องการยืดเหยียดบนเครื่องบิน เพิ่มวิทยากรให้ความรู้เรื่องการใช้ยา (เภสัชกร)   งานศูนย์บริการสาธารณสุขกะลาพอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมด้านสุขของประชาชนผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) ทั้งก่อนไป ขณะแสวงบุญ และหลักจากกลับมา เพื่อให้ประชาชนผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) มีสุขภาพที่แข็งแรง ได้แสวงบุญอย่างสมบูณณ์ ดังคำกล่าวในฮาดิษที่ว่า "สุขภาพที่สมบูรณ์ นำมาซึ่งอีบาดัตที่สมบูรณ์" รวมทั้งเพื่อป้องกันเฝ้าระวังโรคประจำถื่นของตะวันออกกลางที่อาจจะมากับของประชาชนผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) จึงได้มีการจัดโครงการส่งเสริม ป้องกัน และดูแลสุขภาพตนเองของผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดกรองผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) ในเรื่องสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม 2. เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ประชาชนผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) สามารถดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งก่อนเดินทาง ระหว่างการแสวงบุญ และหลังเดินทางกลับ
  1. ผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) ได้รับการคัดกรองและดูแลสุขภาพ ร้อยละ 90
  2. ผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ทั้งก่อนไป ระหว่างแสวงบุญ และตอนกลับมา ร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. คณะทำงานร่วมกันประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการฯ
  2. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  3. ประสานวิทยากร และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. การคัดกรองสุขภาพ และฉีดวัคซีน กับผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) ก่อนไปและติดตามหลังจากกลับมา
  6. ดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้โดยวิทยากร ตามเนื้อหาดังนี้

- กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์สุขภาพของผู้แสวงบุญประกอบพิธีฮัจย์ - เรื่องการเตรียมตัวด้านสุขภาพก่อนไป ขณะประกอบพิธี และหลังกลับจากการประกอบพิธีฮัจย์ - เรื่องสุขภาพใจกับผู้แสวงบุญประกอบพิธีฮัจย์ -เรื่องการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันโรคระบาดจากภูมิภาคตะวันออกกลาง 7. ประชุมถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ (คณะทำงาน)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) ได้รับการคัดกรองสุขภาพ
  2. ผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) มีความรู้การเตรียมตัวก่อน การปฏิบัติขณะประกอบพิธีฮัจย์ และหลังจากกลับมาได้อย่างถูกต้อง
  3. ผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ได้รับฮัจย์ที่สมบูรณ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2568 09:33 น.