โครงการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็กอายุ 0-5 ปี
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็กอายุ 0-5 ปี |
รหัสโครงการ | 68-L4150-01-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 31,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนูรีฮัน เจ๊ะแต |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม | 7.43 | ||
2 | ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย | 6.79 | ||
3 | ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ | 65.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลงานการเฝ้าระวังทางโภชนาการเด็กอายุ แรกเกิด - 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านลากอ ไตรมาสที่ 1,2,3 และ 4 ปีงบประมาณ 2567 (ข้อมูลจาก HDC ) เด็กอายุ แรกเกิด - 5 ปี จำนวน 477 คน ดำเนินการชั่งน้ำหนักจำนวน 471 คน คิดเป็นร้อยละ 98.74 พบว่า เด็กมีภาวะทุพโภชนาการเด็กที่เตี้ย ข้อมูลตามไตรมาสที่ 1,2,3 และ 4 ปีงบประมาณ 2566จำนวน 25,30,39 และ 32 คน คิดเป็นร้อยละ 5.30,6.36,8.28 และ 6.79 เด็กที่ผอม จำนวน 25,26,35 และ 33 คน คิดเป็นร้อยละ 5.30,5.52,7.43และ 7.00กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมายให้เด็กวัยก่อนเรียน (แรกเกิด - 5 ปี) เด็กมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนร้อยละ 65 เด็กที่เตี้ยต้องไม่เกินร้อยละ 10เด็กที่ผอมต้องไม่เกินร้อยละ 4และจากการคัดกรองภาวะซีดในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี จำนวน 390 คน พบเด็กที่มีภาวะซีด 154 คน คิดเป็นร้อยละ 23.69 จากการทำเวทีประชาคมประเด็นที่เกี่ยวข้องที่เป็นสาเหตุต่อการพัฒนางานโภชนาการและพัฒนาการเด็ก สาเหตุมาจากหลายๆปัจจัยคือ การเลี้ยงดูของผู้ปกครองและพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการขาดความรู้ความตระหนักถึงการให้อาหารเสริมตามวัยและขาดการสังเกตพัฒนาการของลูก ครอบครัวมีฐานะยากจน มารดามีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ก็ส่งผลให้เด็กมีภาวะซีดตามมาซึ่งส่งผลกับการสร้างเซลล์สมองของเด็กมีผลต่อ EQ.และ IQ.ของเด็ก ตามมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้เด็กอายุ แรกเกิด - 5 ปี มีการเจริญเติบโตภาวะโภชนาการมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนเพิ่มขึ้น เพื่อให้เด็กอายุ แรกเกิด – 5 ปี มีส่วนสูงระดับดีรูปร่างสมส่วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 65 |
60.00 | 1.00 |
2 | 2. เพื่อให้เด็กอายุ แรกเกิด - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 ภาวะซีดในเด็กอายุ 6 เดือน – 1 ปี มีปริมาณลดล |
60.00 | 1.00 |
3 | 3. เพื่อส่งเสริมผู้ปกครองเด็กและแกนนำด้านสุขภาพ มีความรู้เรื่องโภชนาการ/พัฒนาการและทักษะในการเฝ้าระวังเด็กที่ที่มีปัญหาด้านสุขภาพสามารถส่งต่อได้ เพื่อส่งเสริมเพิ่มศักยภาพและทักษะแกนนำสุขภาพในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กตามวัย และสามารถให้ความรู้คำแนะนำและสามรถส่งต่อเด็กเพื่อรับการรักษายังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอได้ |
60.00 | 1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 31,600.00 | 0 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | 3.1การเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต | 0 | 0.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | 3.2 ให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ | 0 | 31,600.00 | - |
- เพื่อให้เด็กอายุ แรกเกิด – 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
- เพื่อให้เด็กอายุ แรกเกิด – 5 ปี มีส่วนสูงระดับดีรูปร่างสมส่วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 65
- ภาวะซีดในเด็กอายุ 6 เดือน – 1 ปี มีปริมาณลดลง
- เพื่อส่งเสริมเพิ่มศักยภาพและทักษะแกนนำสุขภาพในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กตามวัย และสามารถให้ความรู้คำแนะนำและสามรถส่งต่อเด็กเพื่อรับการรักษายังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2568 00:00 น.