โครงการรณรงค์ป้องกันและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวาน หมู่ที่ 6 ตำบลคลองปาง
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ป้องกันและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวาน หมู่ที่ 6 ตำบลคลองปาง |
รหัสโครงการ | 68-L1512-02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลคลองปาง |
วันที่อนุมัติ | 31 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 8,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางหนูนิตย์ จันทร์ทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.987,99.645place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 8,200.00 | |||
2 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 8,200.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันและควบคุมได้ด้วยการเรียนรู้เรื่องโรคและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวผู้ป่วยซึ่งนับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ มีการประมาณการทางสถิติว่า ทั่วโลกมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานประมาณ 125 ล้านคน และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี และในการศึกษาสถานการณ์ และธรรมชาติวิทยาของโรคเบาหวานประชากรพบว่าภาพรวมของประเทศประชากรไทยมีแนวโน้มการตายและป่วยจากโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่ออายุสูงขึ้นมีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่าย เมื่อเป็นโรคเบาหวานระยะเวลาหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ขณะที่รายที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้นนำไปสู่การสิ้นเปลืองด้านทรัพยากร งบประมาณ อุปกรณ์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาและการจัดการกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว จะต้องควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายสำหรับกลุ่มป่วยดังกล่าว และเข้าถึงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน แต่เนื่องด้วยผู้ป่วยเบาหวาน ต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง และมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเบื่อหน่าย ขาดความใส่ใจในการรักษา ไม่ร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการควบคุมอาการของโรค กระทบต่อผู้ป่วยโดยตรงจากการกำเริบอาการของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ดังนั้น อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ขึ้น เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด โดยให้ทีมงาน อสม.และเครือข่ายในการดำเนินงานไปตรวจคัดกรองเบาหวาน พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพและการคัดกรองโรคเบาหวาน -ร้อยละ 95 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพและการคัดกรองโรคเบาหวาน |
||
2 | 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีอุปกรณ์ในการตรวจระดับน้ำตาลได้รวดเร็ว ถูกต้องและเข้ารับการรักษาได้ทันเวลา -อสม.ร้อยละ 100 สามารถคัดกรองโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
||
3 | 3.เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคต่างๆ -มีเครือข่ายบูรณาการคัดกรองโรคทุกหมู่บ้าน |
||
4 | 4.เพื่อให้ อสม.สามารถดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพและการคัดกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ 95 2.แก่ อสม.และแกนนำบูรณการคัดกรองโรค มีความรู้และสามารถคคัดกรองโรคเบาหวาน ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน 3.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนัก รวมทั้งสามารถประเมินสภาวะสุขภาพในเรื่องการป้องกันโรคเบาหวานได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2568 13:59 น.