โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นตำบลคลองปาง
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นตำบลคลองปาง |
รหัสโครงการ | 68-L1512-02-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สภาเด็กและเยาวชนตำบลคลองปาง |
วันที่อนุมัติ | 31 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 11,650.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายวัชระพงษ์ แดงเวชงาม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.987,99.645place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 11,650.00 | |||
รวมงบประมาณ | 11,650.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหา “วัยรุ่นหญิง” ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร “เพิ่มสูงขึ้น”และอัตราการตั้งครรภ์ของหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี จากเป้าหมายของประเทศไม่เกินร้อยละ 10 จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งในจำนวนนี้ ร้อยละ 80 เป็นการตั้งครรภ์ไม่ตั้งใจซึ่งนำไปสู่การทำแท้งสูงถึงร้อยละ 30 ซึ่งปัจจุบันนี้วัยรุ่นมีอัตราการมีเพศสัมพันธ์สูงมาก แต่มีการคุมกำเนิดน้อยเมื่อรู้ว่าท้องเด็กหลายคนเครียดถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย อยากทำแท้ง เพื่อหนีปัญหา ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ส่วนหนึ่งของปัญหามาจากการเปิดกว้างอย่างไร้การควบคุมของการสื่อสารและเทคโนโลยี ทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อต่างๆได้อย่างไม่จำกัด รวมทั้งผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลหรือขาดความสามารถในการดูแลเนื่องจากไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีรวมทั้งขนบธรรมเนียม ของท้องถิ่นเองที่มองเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอาย ทำให้ครอบครัวไม่สามารถให้การดูแลให้คำปรึกษาได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้น วัยรุ่นจึงเป็นวัยที่อาจถูกชักจูงได้ง่าย ขาดทักษะในการ ดำเนินชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เช่น ขับรถประมาท ยกพวกตีกัน ดื่มสุรา และใช้สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวัง ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ทั้งนี้พฤติกรรม เสี่ยงดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งของการตายในวัยรุ่น โดยเฉพาะเพศหญิง ได้แก่ การทำแท้งเถื่อน การคลอดบุตร ทั้งที่มีอายุน้อย การติดเชื้อ HIV ฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ สังคมไทยในปัจจุบัน ตัวเลขวัยรุ่นไทยตั้งท้องในวัยเรียนสูงเป็นอันดับ ๑ ของเอเชียอาคเนย์ และมีอัตราส่วนสูง กว่าวัยรุ่นในยุโรป และอเมริกา เฉลี่ยอายุของการตั้งครรภ์ในวัยเรียน น้อยสุด ๑๒ ปี และไม่เกิน ๑๙ ปี สภาเด็กและเยาวชนตำบลคลองปางได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ “โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นตำบลคลองปาง ” ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรัก และเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้เข้าอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์การตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควร ในประเทศไทย เด็กและเยาวชนทั่วไปมีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องเพศ |
||
2 | เพื่อให้ผู้เข้าอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เด็กและเยาวชนทั่วไปมีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการดดำรงชีวิต |
||
3 | เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างชายหญิง
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- เด็กและเยาวชนทั่วไปมีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องเพศ
- เด็กและเยาวชนทั่วไปมีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการดดำรงชีวิต
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2568 16:05 น.