โครงการชุมชนตำบลคลองปาง ร่วมใจป้องกันภัย โรคไข้เลือดออก ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนตำบลคลองปาง ร่วมใจป้องกันภัย โรคไข้เลือดออก ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1512-02-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ทีม SRRT ม. 3,4,5,6,7,8,9 ตำบลคลองปาง |
วันที่อนุมัติ | 31 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 15,490.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางพัชรี เภอรักษ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.987,99.645place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2568 | 15,490.00 | |||
รวมงบประมาณ | 15,490.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีการรณรงค์การมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะให้ตอบสนองต่อกระบวนการควบคุมป้องกันโรคภัยที่คุกคามสุขภาพ ในการใช้สื่อสารสาธารณะในการสร้างวิถีชีวิตที่ป้องกันชุมชนและสังคมจากภัยคุกคาม ซึ่งกรมควบคุมโรค จะพัฒนาสมรรถนะใหม่ขึ้นมา เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล (กองสุขศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข , 2550)
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโรคหนึ่งนับตั้งแต่มีการระบาดครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2501 จนปัจจุบันผู้ป่วยยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีการแพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มี การคมนาคมสะดวก ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก ได้แก่ คน เชื้อก่อโรค ยุงพาหะนำโรค และสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และจากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 20 พฤศจิกายน 2567 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 97,332 ราย อัตราป่วย 149.94 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 78 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.12 สถานการณ์โรคไข้เลือดออก เขต 12 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 13,032 ราย อัตราป่วย 262.30 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 9 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.18 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดตรัง มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 1,197 ราย อัตราป่วย 188.10 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอรัษฎา มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 127.58 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ตำบลที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือ ตำบลควนเมา คิดเป็นอัตราป่วย 186.81 ต่อแสนประชากร รองลงมาตำบลคลองปาง คิดเป็นอัตราป่วย 172.06 ต่อแสนประชากร รองลงมา ตำบลหนองปรือ,ตำบลหนองบัวและตำบลเขาไพร ตามลำดับ จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบล คลองปาง พบผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออกตำบลคลองปาง จำนวน 17 ราย เขตรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลท้องถิ่นตำบลคลองปางจำนวน 13 ราย หมู่ที่ 3 จำนวน 2 ราย หมู่ที่ 4 จำนวน 1 ราย หมู่ที่ 5 จำนวน 6 ราย หมู่ที่ 6 จำนวน 2 ราย หมู่ที่ 8 จำนวน 1 ราย หมู่ที่ 9 จำนวน 1 ราย และตำบลคลองปางยังพบผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออกที่เป็นนักเรียนในโรงเรียน ขณะป่วยหรือมีอาการฟักตัวอยู่กำลังศึกอยู่โรงเรียนวัดเขาพระ โดยระหว่างระยะฟักตัวของโรคได้เรียนอยู่ที่โรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่เด็กมาอยู่รวมกันในช่วงเวลากลางวัน สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของยุงลายจึงเป็นแหล่งที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคสูงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิต ซึ่งในโรงเรียนบ้านควนหนองกกยังไม่พบนักเรียนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก แต่หากไม่มีการป้องกันควบคุมโรคอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นการป้องกันควบคุมโรคที่ต้นเหตุโดยเร่งด่วนแล้ว อาจส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคนี้ในโรงเรียนได้
ดังนั้นชาวตำบลคลองปางจึงได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น ในปี 2568 จึงได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และให้นักเรียนตลอดถึงประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ผลกระทบของโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้นที่สำคัญเพื่อเป็น การป้องกันและลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกในเขตตำบลคลองปางโดยการร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยชุมชนเป็นเจ้าของพื้นที่และขยายแนวทางการป้องกันโรคดูแลสุขภาพด้วยตนเองอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง โรคไข้เลือดออกรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว ร้อยละ 80 นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก |
||
2 | เพื่อเฝ้าระวังป้องกัน การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ประชาชนตำบลคลองปางร่วมป้องกัน การระบาดของ ไข้เลือดออกในพื้นที่ |
||
3 | เพื่อให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินกิจกรรมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ประชาชนตำบลคลองปางร่วมดำเนินกิจกรรมไข้เลือดออก โดยการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลุกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- ร้อยละ 80 นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
- ประชาชนมีความรู้ และหลักในการจัดบ้านที่ถูกสุขลักษณะรวมถึงวิธีการกำจัดและป้องกันลูกน้ำยุงลายที่ถูกวิธี
- มีการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมนอย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2568 16:15 น.