โครงการการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3 – 5 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา
ชื่อโครงการ | โครงการการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3 – 5 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 30 มกราคม 2568 - 30 เมษายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 8,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุไหวบ๊ะ เกษมสัน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.803,99.917place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 16 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 16 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันอุบัติเหตุจากการจมน้ำยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งสาเหตุดังกล่าวยังเป็นอันดับแรกการเสียชีวิตของเด็กส่วนใหญ่ของประเทศไทย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข จากช่วงปีที่ผ่านมา ของจังหวัดสตูล พบว่ามีการจมน้ำของเด็ก ยังมีมาเรื่อยตั้งแต่ (พ.ศ. 2558 – ๒๕๖3) พบว่าการจมน้ำของจังหวัดสตูล อัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 7.8 คน และในปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 3.7 คน เมื่อร่วมสถิติเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีเสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่งของทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ โดยมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงถึง ๘,๓๙๔ คน เฉลี่ยปีละ ๘๓๙ คน หรือวันละ ๒.๓ คน หากจะป้องกันการเสียชีวิตหรือลดอัตราการตายจากการจมน้ำของเด็ก เพื่อเป็นการป้องกันและการเฝ้าระวังปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ ป้องกันก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ จึงต้องให้นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน มีทักษะการว่ายน้ำ สามารถช่วยเหลือตนเองหากเกิดเหตุการณ์และรอดจากการเสียชีวิตจากการจมน้ำได้ จำเป็นจะต้องฝึกหัดว่ายน้ำให้ได้ หรือเด็กว่ายน้ำเป็น ยิ่งพื้นที่ของตำบลท่าเรือมีแหล่งแหล่งน้ำต่างๆมากมาย เช่น ลำคลอง บ่อเลี้ยงปลา และสระน้ำแหล่งน้ำต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งต้องฝึกให้ครู บุคลากร ผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการช่วยชีวิตคนจากการจมน้ำแบบวิธีการช่วยเหลือตามมาตรฐานสากล โดยใช้อุปกรณ์ใกล้มือ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการจมน้ำและการช่วยเหลือชีวิตจากการจมน้ำในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3 - 5 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนา สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ เพื่อเป็นการป้องกันก่อนปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและรู้วิธีแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในเด็กวัยนี้ จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3-5 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนพัฒนาสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กปฐมวัย มีทักษะในการว่ายน้ำและการเอาตัวรอดจาการจมน้ำ ร้อยละ 70 เด็กปฐมวัย มีทักษะในการว่ายน้ำและการเอาตัวรอดจาการจมน้ำ |
||
2 | เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัย ร้อยละ 70 ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัย |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. ขั้นเตรียมการ
4.1 ประชุมกรรมการ
4.2 เขียนเสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าเรือ
4.3 ประชุมผู้เกี่ยวข้องชี้แจงการดำเนินโครงการการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยอายุ
ระหว่าง 3 – 5 ปี คณะกรรมการต่อคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
ตำบลท่าเรือ
4.4 เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการ
๒. ขั้นดำเนินการ
๒.๑ กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการวิธีการว่ายน้ำเพื่อเอาตัวรอดจากการจมน้ำและ
การเล่นน้ำในชีวิตของเด็ก
๒.๒ กิจกรรมภาคสาธิตและปฏิบัติจริงของการอยู่ในน้ำ การเล่นน้ำ การจมน้ำ
๒.๓ ติดตามระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมทั้งภาคความรู้และภาคปฏิบัติ
๓. ขั้นติดตามประเมินผล
๓.๑ ดำเนินการติดตามการจัดกิจกรรม
3.2 ประเมินผลความสำเร็จของโครงการ
๓.3 รายงานผลความสำเร็จของโครงการกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าเรือ
๙.๑ เด็กปฐมวัยระหว่าง 3- 5 ปี มีทักษะการป้องกันการจมน้ำและช่วยเหลือตนเองได้เบื้องต้น
๙.๒ ผู้ปกครองและครูมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง
3 - 5 ปี
๙.๓ ผู้ปกครองนำความรู้ ความเข้าใจช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้จากการจมน้ำ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 10:45 น.