กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข ตำบลท่าเรือ ปี ๒๕๖๘
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิตยา รอเกตุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชมรมผู้สูงอายุ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๙ กันยายน 255๒ โดยการรวมตัวกัน ของกลุ่มผู้สูงอายุในเขต รพ.สต.ท่าเรือ และ รพ.สต.บ้านแป-ระใต้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุทั้งตำบล มาทำกิจกรรมสร้างเสริม สุขภาพร่วมกัน และเป็นการพัฒนาจิตใจให้ผู้สูงอายุมีความสดชื่นเบิกบาน ซึ่งแนวโน้มของผู้สูงอายุนับวันจะมีจำนวนมากขึ้น อันจะนำมาซึ่งภาวะเสี่ยงและปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะการเจ็บป่วยเรื้อรัง เนื่องจากวัยสูงอายุมีธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงในทางที่เสื่อมลงทั้งทางด้านร่างกายจิตใจและสังคม ทั้งนี้พบว่า ผู้สูงอายุมีสถิติการเกิดโรคมากกว่าวัย อื่นๆ ถึง 4 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปี ประมาณ 4 ใน 5 คน จะมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค ส่วนปัญหาทางด้านจิตใจในผู้สูงอายุที่สำคัญ คือ ภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียบุคคลใกล้ชิด รวมทั้งการขาด รายได้การเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ในสังคม จึงมีความจำเป็นที่ต้องเตรียมการในการดูแลผู้สูงอายุ ในด้านการ ส่งเสริมบทบาททางสังคมและการดูแลสุขภาพเพื่อรองรับการบริการของผู้สูงอายุตามสิทธิตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ ตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพและการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ซึ่งมีจำนวนมากที่ ซึ่งการจัดกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ (ชมรมท่าเรือสูงวัยใจเต็มร้อย) โดยการจัด ประชุมประจำเดือนของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างหนึ่งเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รวมตัวทำกิจกรรม แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันอันเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาความรู้ และอารมณ์ และจิตใจให้ผ่องแผ้วเบิกบาน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อบต.ท่าเรือ ด้านการพัฒนาสังคม คน และคุณภาพชีวิต และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติในยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ จากข้อมูลโปรแกรม JHCIS  จำนวนผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ และ รพ.สต.บ้านแป-ระใต้ จำนวน ๖ หมู่บ้าน มีจำนวนผู้สูงอายุในชมรม เป็นชาย ๓๕ คน หญิง ๘๙ คน รวม ๑๒๔ คน (ข้อมูลจากสมาชิกชมรมท่าเรือสูงวัยใจเกินร้อย เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ ) การแพทย์แผนไทยจึงเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้กับคนในชุมชนได้แบบปฐมภูมิ มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตเองคนในสังคมไทย ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นในปัจจุบัน คนไทยเริ่มหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งการดูแลสุขภาพมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยใช้สมุนไพรที่หาได้ไม่ยากในวิถีไทยๆ การใช้ยาดมไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ใหญ่หรือว่าคนสูงอายุเท่านั้นที่ใช้ยาดมได้ ทุกเพศทุกวัยสามารถใช้ได้ เพราะว่าเป็นการทำให้ร่างกายผ่อนคลาย สดชื่นรวมทั้งบรรเทา อาการวิงเวียน ศีรษะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ และประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ร้อยละ 70 ผู้สูงอายุได้รับความรู้ และประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเรื่องสุขภาพ

ร้อยละ 70ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเรื่องสุขภาพ

3 เพื่อประสานงานและเสริมสร้างบทบาทการมีส่วนร่วมของทุกส่วนของสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ

ร้อยละ 70 มีการประสานงานและเสริมสร้างบทบาทการมีส่วนร่วมของทุกส่วนของสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. เสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตพื้นที่ตำบลท่าเรือ เพื่อขออนุมัติ ๒. ประชุมเจ้าหน้าที่ เพื่อชี้แจงกิจกรรมโครงการ ๓. เชิญอาสาสมัครสาธารณสุขเข้ารับการประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินงาน และกำหนดรูปแบบกิจกรรม ๔.จัดทำทะเบียนผู้สูงอายุและรับสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ ๕. อบรมบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการ ส่งเสริมสุขภาพอนามัย การใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์ของผู้สูงอายุ และความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ๖.จัดกิจกรรมสาธิตการทำยาดมสมุนไพร ๗. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุได้รับความรู้ และประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ๒. ผู้สูงอายุเข้าใจสถานภาพของตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้สูงอายุ ด้วยกันในชุมชน ๓. ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการตรวจคัดกรองด้านสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังโรคและได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติ   ตัวและมีสุขภาพกายและจิตใจที่ดีขึ้น มาเข้าร่วมกิจกรรมในคลินิกผู้สูงอายุมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 10:53 น.