กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรอง และค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิตยา รอเกตุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ทำให้มีการอักเสบในปอด ซึ่งในผู้ใหญ่มักจะพบส่วนใหญ่เป็นที่ปอด ในเด็กอาจเป็นที่อวัยวะอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมอง กระดูก สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis การติดต่อมักจะได้รับเชื้อจากผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคระยะแพร่เชื้อ โดยเชื้อจะออกมากับการไอ จาม ทำให้เชื้อกระจายในอากาศ ในห้องที่ทึบอับแสง เชื้อวัณโรคอาจมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ ถ้าเสมหะที่มีเชื้อลงสู่พื้นที่ไม่มีแสงแดดส่อง เชื้ออาจอยู่ได้ในเสมหะแห้งได้นานถึง 6 เดือน เชื้อจะกระจายอยู่ในอากาศ และเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจเอาเชื้อเข้าไป ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบอาจมีอาการไอเรื้อรังยาวนานถึง 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น ไอแล้วเสมหะมีเลือดปนออกมา มีอาการเจ็บหน้าอก ขณะหายใจหรือไอ มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ มีน้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ มีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ หรือมีเหงื่อออกในเวลากลางคืน รู้สึกหนาวสั่น รู้สึกไม่อยากอาหาร โดยทั่วไปแล้ว วัณโรคอาจเป็นกันได้ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายนอกเหนือจากปอดก็ได้ เช่น ไต กระดูกสันหลัง หรือสมอง โดยจะมีอาการแตกต่างกันไปตามบริเวณร่างกายที่เกิด เช่น ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหลังหากวัณโรคลงกระดูกสันหลัง และผู้ป่วยอาจมีเลือดในปัสสาวะหากวัณโรคลงไต วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆในอดีต แต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา แม้ว่าประเทศไทยนำกลยุทธ์ DOTS มาใช้ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันวัณโรค แต่อัตราผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อยังอยู่ และประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ทำให้ปัญหาวัณโรคทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียนรายใหม่ ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีแนวโน้มของการดื้อยารักษาวัณโรคเพิ่มสูงขึ้น การดำเนินงานที่สำคัญคือค้นหาคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ซึ่งประกอบด้วย 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สัมผัสร่วมบ้าน/ผู้สัมผัสใกล้ชิด ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ผู้ป่วยเอดส์ แรงงานต่างด้าว ผู้ต้องขัง และบุคลากรสาธารณสุข ต้องได้รับการคัดกรองค้นหาโรควัณโรคต่อไป
สถานการณ์วัณโรครายใหม่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ พบว่าอัตราการค้นหาผู้ป่วย ย้อนหลัง 3 ปี (2565 – 2567) พบผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 4, 3 และ 4 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 131.19, 98.39 และ 131.19 ต่อแสนประชากร ซึ่งยังน้อยกว่าเกณฑ์ของประเทศ (150 ต่อ แสนประชากร) ปีงบประมาณ 2567 จำนวนผู้ป่วย 4 ราย รักษาครบ/หาย 2 รายคิดเป็นร้อยละ 50 (เป้าหมายร้อยละ 90 )ยังไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองยังไม่ครอบคลุมทำให้ผู้ป่วยรายใหม่ ยังไม่ถูกค้นพบและเชื้อโรคแพร่กระจายไปในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อที่จะลดปัญหาของการเกิดโรควัณโรคและภัยสุขภาพได้ การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงจึงมีความสำคัญและจำเป็นในการลดการแพร่กระจายเชื้อโรค เนื่องจากหากสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็วและได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่ จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการรักษา เพื่อทำให้ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นกาตัดวงจรการแพร่กระจายและลดอัตราการเสียชีวิตจากการป่วยด้วยวัณโรค
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลท่าเรือ เพิ่มกระบวนการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชนจะสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนเข้าใจโรควัณโรคมากขึ้นและคาดหวังว่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุก ปี 2568 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้สัมผัสร่วมบ้าน/ผู้สัมผัสใกล้ชิด ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป  ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเอดส์ แรงงานต่างด้าว ผู้ต้องขัง และบุคลากรสาธารณสุขได้รับการคัดกรอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้สัมผัสร่วมบ้าน/ผู้สัมผัสใกล้ชิด ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป  ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเอดส์ แรงงานต่างด้าว ผู้ต้องขัง และบุคลากรสาธารณสุขได้รับการคัดกรอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3 เพื่อให้ ประชาชน อสม. และกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรควัณโรค
  1. ประชาชน อสม. และกลุ่มเสี่ยง ได้เข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับเรื่องโรควัณโรค ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการจัดทำโครงการ และรูปแบบการจัดกิจกรรม
  2. เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าเรือ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. ค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่โดยการคัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้สัมผัสร่วมบ้าน/ผู้สัมผัสใกล้ชิด ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเอดส์ แรงงานต่างด้าว ผู้ต้องขัง และบุคลากรสาธารณสุข
  4. กลุ่มเสี่ยงมีอาการสงสัย และผู้สัมผัสใกล้ชิดร่วมบ้านผู้ป่วยได้รับการส่งต่อเพื่อ X- ray ปอด
  5. อบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อให้เข้าใจโรควัณโรคมากขึ้น
  6. ติดตาม เยี่ยมบ้าน กำกับการทานยา ผู้ป่วยยืนยันวัณโรค
  7. ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้สัมผัสร่วมบ้าน/ผู้สัมผัสใกล้ชิด ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเอดส์ แรงงานต่างด้าว ผู้ต้องขัง และบุคลากรสาธารณสุข ได้รับการคัดกรองวัณโรค และส่งต่อเพื่อ X- ray ปอด
  2. ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชนได้รับการตรวจวินิจฉัยและส่งต่อรับการรักษา
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าในเรื่องวัณโรค
  4. ประชาชนให้ความสำคัญในการป้องกันและลดการแพร่กระจายของวัณโรคในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 11:12 น.