โครงการเสริมสร้างความรู้ผู้ดูแลและสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย รพ.สต.ตำบลท่าเรือ อ.ท่าแพ จ.สตูล ปี ๒๕68
ชื่อโครงการ | โครงการเสริมสร้างความรู้ผู้ดูแลและสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย รพ.สต.ตำบลท่าเรือ อ.ท่าแพ จ.สตูล ปี ๒๕68 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 30 มกราคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 12,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนิตยา รอเกตุ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.803,99.917place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ.2567 โดยเพิ่มขึ้นจาก 10.3 ล้านคน (ร้อยละ 16.2) ในปี พ.ศ.2568 เป็น 20.5 ล้านคน(ร้อยละ 32.1) ในปี พ.ศ.2583 ประกอบกับแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในวัยทำงานและผู้สูงอายุ เป็นผลให้ประเทศต้องแบกรับภาระค่ารักษาพยาบาล จำนวนแพทย์และพยาบาลไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นในอนาคตขณะเดียวกัน เด็กเกิดน้อยแต่ด้อยคุณภาพ ระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าค่ามาตรฐานสากล ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ คือ เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย เพื่อให้บรรลุตามแผนงาน Promotion and Prevention Excellence ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข จำเป็นต้องดำเนินงานแบบเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ และไม่รอให้เกิดปัญหาแล้วจึงแก้ไข ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนงานแบบบูรนาการ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ ตั้งแต่ครอบครัว คลินิกสุขภาพเด็กดี และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในการช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรพัฒนางานโภชนาการ ทันตสุขภาพ พัฒนาการ กิจกรรมทางกาย การนอน สุขาภิบาลอาหารและน้ำในพื้นที่ จากการวิเคราะห์สถานการณ์เด็กปฐมวัยในพื้นที่รับผิดชอบปีงบประมาณที่ผ่านมา พบปัญหาอุปสรรคต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย ที่ส่งผลต่อสุขภาพเด็กปฐมวัยในหลายประการ ได้แก่ เด็กปฐมวัยมีภาวะอ้วน จำนวน 8 คน เด็กปฐมวัยมีภาวะผอม จำนวน 10 คน , เด็กปฐมวัยมีภาวะเตี้ย จำนวน 10 คน , เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าจากการตรวจพัฒนาการ ครั้งที่ 1 จำนวน 24 คน และเด็กปฐมวัยมีปัญหาฟันน้ำนมผุ จำนวน 20 คน โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการองค์รวม และด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย คือ การศึกษาของพ่อแม่ รายได้ของครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดู ซึ่งวิธีการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่และการจัดประสบการณ์การอบรมเลี้ยงดูเด็กมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย ดังนั้นเพื่อการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพกลุ่มเด็กปฐมวัย จึงเน้นคุณภาพและประสิทธิภาพของการบริการและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยให้ครอบคลุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลท่าเรือจึงได้จัดทำโครงการสริมสร้างความรู้ผู้ดูแลและสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย รพ.สต.ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปี ๒๕68 เพื่อพัฒนาให้การบริการและส่งเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพผู้รับบริการได้ประโยชน์สูงสุด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการที่สมวัยรอบด้านในเด็กปฐมวัย ร้อยละ 70 มีการสร้างเสริมพัฒนาการที่สมวัยรอบด้านในเด็กปฐมวัย |
||
2 | เพื่อสร้างกระแสสังคมและประชาสัมพันธ์การสร้างความตระหนักต่อการดูแลสุขภาพในเด็กปฐมวัย ร้อยละ 70 สร้างกระแสสังคมและประชาสัมพันธ์การสร้างความตระหนักต่อการดูแลสุขภาพในเด็กปฐมวัย |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
7.1 จัดทำแผนงานโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าเรือ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
7.2 คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน (กลุ่มเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาด้านสุขภาพจากการคัดกรองในปีงบประมาณ 2567)
7.3 จัดอบรมให้ความรู้พ่อ/แม่หรือผู้ดูแลเด็ก เรื่องการดูแลสุขภาพรอบด้านในเด็กปฐมวัย จำนวน 40 ครอบครัว
7.4 กิจกรรมฐานแรลลี่สายใยรักเพิ่มความผูกพันในครอบครัว โดยแบ่งกิจกรรมเป็นฐานความรู้ 3 ฐาน ได้แก่ 1 ฐานพัฒนาการและของเล่นตามวัย
2 ฐานโภชนาการและอาหารตามวัย
3 ฐานสุขภาพช่องปาก
7.5 ประเมินผลการอบรมทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรม
7.6 ติดตามเยี่ยมสุขภาพเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน
7.7 ประเมินผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความรู้ผู้ดูแลและสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย
บริการและส่งเสริมสุขภาพสำหรับเด็กปฐมวัยได้มาตรฐาน ทั้งเชิงรับและเชิงรุก ได้แก่ บริการสุขภาพเด็กดี ผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลลูก ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เด็กเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 11:18 น.