กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี ผู้คนสุขภาพดี ห่างไกลโรค ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ปี 2568

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี ผู้คนสุขภาพดี ห่างไกลโรค ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ปี 2568 ”
ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล



หัวหน้าโครงการ
นายธีรยุทธ์ บินสอาด




ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี ผู้คนสุขภาพดี ห่างไกลโรค ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ปี 2568

ที่อยู่ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 11/2568

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 30 มกราคม 2568 ถึง 30 สิงหาคม 2568

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี ผู้คนสุขภาพดี ห่างไกลโรค ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ปี 2568 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี ผู้คนสุขภาพดี ห่างไกลโรค ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ปี 2568



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี ผู้คนสุขภาพดี ห่างไกลโรค ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ปี 2568 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 30 มกราคม 2568 - 30 สิงหาคม 2568 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 10,450.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น เห็นได้จากสถิติของผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการป่วยจากโรคไม่ติดต่อ เพิ่มสูงขึ้น โรงพยาบาลจึงต้องเพิ่มขนาดของโรงพยาบาล เพื่อรองรับผู้ที่มารับบริการ ซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอย่างมาก และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาสุขภาพที่สำคัญมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือ ผัก-ผลไม้ ที่ไม่ปลอดสารพิษเพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธี เพื่อเหตุผลการค้า และพาณิชย์ ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน คือการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน หากปลูกผักรับประทานเองแบบผักอินทรีย์ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างแท้จริง แต่กระนั้นสำหรับประชาชนที่ไม่เคยปลูกผักเลยก็เป็นปัญหาใหญ่ในการเริ่มต้นที่จะเรียนรู้การปลูกผักด้วยตนเอง
ปัจจุบันนี้ผักที่วางขายตามท้องตลาดนั้นล้วนแล้วแต่มีสารปนเปื้อนทั้งนั้น เนื่องจากเกษตรกรจำนวนไม่น้อยได้นำวัตถุมีพิษ(สารเคมี)มาใช้เพื่อเร่งปริมาณผลผลิตเพื่อให้ได้จำนวนมากขึ้น บางครั้งเกษตรกรใช้สารเคมีเกินคำแนะนำและเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายก่อนระยะเวลาที่กำหนด ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงคือผู้บริโภค ซึ่งไม่ได้เห็นพฤติกรรมดังกล่าว จึงทำให้เกิดปัญหาต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมของประเทศ เช่นมีสารเคมีตกข้างในร่างกายมนุษย์  ทำให้เกิดความผิดปกติภายในร่างกาย อาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่อระบบทางเดินอาหารและระบบประสาทอย่างร้ายแรง ร่างกายอ่อนแอ และทรุดโทรม อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ พืชผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมนํามาใช้รับประทานกันมากเนื่องจากมีคุณค่าทางอาการทั้ง วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้น มักจะเลือก บริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทําลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทําให้เกษตรกรที่ปลูกผัก จะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกําจัดแมลงฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความ ต้องการของตลาด เมื่อผู้ซื้อนํามาบริโภคแล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผักนั้นได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว เกษตรกรจึงควรหันมา ทําการปลูกผักปลอกภัยจากสารพิษ โดยนําเอา วิธีการป้องกันและกําจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เป็นการทดแทนหรือลดปริมาณการใช้ สารเคมีให้น้อยลง เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ให้ได้รับการบริโภคพืชผักที่ไม่มีสารเคมีป้องกันและยากําจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ หรือมีตกค้างอยู่ไม่เกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดไว้ ในประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 28 เมษายน 2538 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการสานพลังความต่อเนื่องปฏิบัติการตามแนวพระราชดำริฯ ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร สู่ชุมชนเข้มแข็ง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสืบสาน รักษา และต่อยอดการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข และแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สู่ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ที่กลายเป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ รวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยต้องชะงักงัน สินค้าอุปโภค บริโภค กระทบหนัก ขาดแคลนและราคาสูงขึ้น โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สู่ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยเริ่มต้นจากแผนปฏิบัติการ “Quick win” 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ขยายผลสู่ระยะที่ 2 สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน และต่อยอดการดำเนินงานในรอบ 2 ด้วยการบูรณาการความร่วมมือกับ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ผ่านอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ในการขับเคลื่อนปฏิบัติการ ซึ่งการขับเคลื่อนดำเนินการดังกล่าวได้รณรงค์ให้ประชาชน 12.9 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ดำเนินการปลูกผัก สวนครัวรั้วกินได้ 5 – 10 ชนิด

    จากผลการคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ปี ๒๕๖๔ พบว่า เกษตรกรที่มาตรวจสารเคมีจำนวน ๙๐ คน มีผลตรวจสารเคมีอยู่ในระดับปลอดภัย ๘ ราย ระดับมีความเสี่ยง จำนวน ๕๑ รายและระดับไม่ปลอดภัย จำนวน ๓๑ ราย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ได้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร ในร้านชำและแผงลอยจำหน่ายอาหาร เพื่อตรวจวิเคราะห์ทางด้านเคมี ปี 2567 จากผลการตรวจวิเคราะห์อาหารทางด้านเคมี ได้ทำการตรวจวิเคราะห์ 114 รายการ ผ่านมาตรฐาน 105 รายการ ตกมาตรฐาน 9 รายการ คิดเป็นร้อยละ 92.11 และ 7.89 ของตัวอย่างด้านเคมีทั้งหมด ตรวจทางด้านเคมี 9 ชนิด คือ Polar ของน้ำมันทอดซ้ำ (Ebro) , กรดซาลิซิลิค , ซาลบูทามอล , โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ , บอแรกซ์ , ฟอร์มาลิน , ยาฆ่าแมลง (GT Test Kit) , ยาฆ่าแมลง (GT test kit + TM/2 kit) , ไอโอดีน (I-Reader) พบว่า สารฆ่าแมลงตกค้าง GT Test Kit จากการตรวจวิเคราะห์ทั้งหมด 47 รายการ ตกมาตรฐาน 2 รายการ คิดเป็นร้อยละ 4.26 ของตัวอย่างทั้งหมด ในตัวอย่างพริกสด ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้จึงจัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี ผู้คนสุขภาพดี ห่างไกลโรค ปี 2568 ขึ้น เป้าหมายสูงสุด เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง ผู้บริโภคปลอดภัย ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ปลอดภัย ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมค่านิยมในการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนและบริโภคผัก/ผลไม้ตามฤดูกาลที่ปลุกหรือจำหน่ายในชุมชน
  2. เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช
  3. เพื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี รับประทานผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน 50
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1.ประชาชนปลูกผักปลอดสารพิษใช้บริโภคในครัวเรือนเพื่อตนเองและครอบครัวมีสุขภาพที่ดี 2.ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช 3.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี รับประทานผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น
    4.พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค 5.อัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลดลง


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อส่งเสริมค่านิยมในการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนและบริโภคผัก/ผลไม้ตามฤดูกาลที่ปลุกหรือจำหน่ายในชุมชน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ได้มีการส่งเสริมค่านิยมในการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนและบริโภคผัก/ผลไม้ตามฤดูกาลที่ปลุกหรือจำหน่ายในชุมชน

     

    2 เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ได้ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช

     

    3 เพื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี รับประทานผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี รับประทานผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน 50
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมค่านิยมในการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนและบริโภคผัก/ผลไม้ตามฤดูกาลที่ปลุกหรือจำหน่ายในชุมชน (2) เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช (3) เพื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี รับประทานผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี ผู้คนสุขภาพดี ห่างไกลโรค ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ปี 2568 จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายธีรยุทธ์ บินสอาด )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด