กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรอง ค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ปี 2568
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มกราคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีรยุทธ์ บินสอาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์โรคไวรัสตับอักเสบบีทั่วโลก พบผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังทั่วโลก กว่า 257 ล้านคน ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 2.2-3 ล้านคน โดยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus : HBV) ส่งผลต่อการเจ็บป่วย เช่น มะเร็งตับ พบในเพศชาย (33.4 ต่อแสนประชากร) และพบในเพศหญิง (12.3 ต่อแสนประชากร) มีช่องทางการติดเชื้อ คือ ทางเลือด เพศสัมพันธ์ และการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อันตราย หากได้รับเชื้อแล้วไม่เข้าสู่กระบวนการรักษา มีโอกาสเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ตับวาย ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ทั้งนี้ โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี และรักษาได้ด้วยการรับประทานยาต้านไวรัส เพื่อควบคุมปริมาณไวรัสในร่างกาย ลดภาวะการเกิดพังผืดของตับ ชะลอการเกิดตับแข็ง และลดการเกิดมะเร็งตับ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น กรมควบคุมโรค จึงเร่งส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโรคไวรัสตับอักสบบี สามารถประเมินความเสี่ยงของตนเองและคนรอบข้าง หากมีพฤติกรรมเสี่ยงให้เข้ารับบริการตรวจคัดกรองและการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีโดยเร็ว สถานการณ์โรคไวรัสตับอักเสบซีในอดีต ปี พ.ศ.2550 มีรายงานผู้ป่วยรวม 1,140 ราย (ร้อยละ 11.42 ของผู้ป่วยตับอักเสบรวม) อัตราป่วย 1.81 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิตพบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง เพศชาย 726 ราย เพศหญิง 414 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1.7 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือกลุ่มอายุ 45 - 54 ปี รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 55 - 64 ปี และ 35 - 44 ปี อัตราป่วย 4.26, 3.43 และ 2.55 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ พบผู้ป่วยใหม่ในทุกเดือนโดยพบสูงสุดในเดือน ตุลาคมจำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 130 ราย และต่ำสุดในเดือน ธันวาคม และ สิงหาคม เท่ากับ 77 ราย โดยในปี พ.ศ.2550 พบผู้ป่วยใหม่สูงกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปีในทุกเดือนในบรรดาโรคร้ายที่คุกคามร่างกายเราได้ อย่างเงียบเชียบ ไวรัสตับอักเสบซีถือเป็นโรคที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดโรคหนึ่งทั้งนี้เพราะในบรรดาโรคไวรัสตับอักเสบซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีอยู่ ถึง 5 ชนิด คือ A, B, C, D และ Eไวรัสที่พบมากที่สุดคือไวรัสตับอักเสบชนิดซี เพราะสามารถเป็นเรื้อรังได้บ่อย ไม่ติดต่อทางอาหาร และผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อ ที่ร้ายกว่านั้นคือ ไวรัสตับอักเสบซี เป็นอีกสาเหตุสำคัญของมะเร็งตับ ไวรัสตับอักเสบซี ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2532 เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบในตับ สามารถทำให้เกิดการตับอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังตลอดจนตับแข็งและมะเร็งตับ ความรุนแรงของไวรัสชนิดนี้คือ เป็นตับอักเสบเรื้อรังมากกว่าชนิดอื่น และยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ทำได้ก็เพียงการให้ยาลดไวรัสและป้องกันการเกิดมะเร็งตับเท่านั้น ทั้งนี้ หากประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี ให้เข้ารับการคัดกรองและเข้าสู่ระบบริการรักษาโดยเร็ว เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี ภาวะตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ เพื่อนำไปสู่การกำจัดโรคไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซีให้หมดไปภายในปี 2573 และเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 32 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี จำนวน 1 ครั้ง สถานการณ์ของโรคตับอักเสบทั่วโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังประมาณ ๒๕๗ ล้านคน และผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังประมาณ ๗๑ ล้านคน สถานการณ์ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ ๒.๒-๓ ล้านคน และผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ ๘ แสนคน พบมากในผู้ที่มีอายุ ๓๐ ปีขึ้นไป และพบอัตราการเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โรคไวรัสตับอักเสบ บี และซี สามารถติดต่อผ่านทางเลือดและสารคัดหลั่ง การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย สำหรับโรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ ทั้งนี้ โรคไวรัสตับอักเสบบี มีวัคซีนในการป้องกัน หากมีพฤติกรรมเสี่ยงให้รีบไปตรวจคัดกรองโดยเร็ว สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ควรรีบมาฝากครรภ์ และรับการตรวจหาโรคไวรัสตับอักเสบบี เพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันได้มีการใช้วัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในเด็กแรกเกิดทุกคน จำนวน 4 เข็ม ที่อายุ 0 ,2,4,6 เดือนทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อต้องได้รับภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (HBIG) ทันทีหลังคลอดและวัคซีนเพิ่มอีก 1 เข็ม ที่อายุ 1 เดือน เพื่อป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี แต่สำหรับประชาชนที่เกิดก่อนปี ๒๕๓5 ควรตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี หากไม่มีภูมิคุ้มกัน แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี ให้ครบชุด จำนวน ๓ เข็ม ที่ 0 , 1 ,6 เดือน ซึ่งจะป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการตรวจ คือ ประชาชนที่เกิดก่อนปี พ.ศ.2535 ตรวจคัดกรองซ้ำทุก 1 ปี สำหรับ 5 กลุ่มเสี่ยง 1.ผู้ติดเชื้อ HIV 2.ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด 3.กลุ่มชายมีเพสสัมพันธ์กับชาย 4.บุคลากรสาธารณสุข 5. ผู้ต้องขัง ส่วนโรคไวรัสตับอักเสบซี ไม่มีวัคซีนในการป้องกัน แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการทานยาต้านไวรัสให้ครบ ๑๒ สัปดาห์ ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ควรเข้ารับบริการตรวจคัดกรองและรักษาโดยเร็ว จากการดำเนินงานคัดกรองค้นหากลุ่มติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และซี ในปีงบประมาณ 2567 นั้น มีประชาชนกลุ่มเป้าหมายยังให้ความสนใจ และให้ความสำคัญน้อยมาก และเนื่องจากวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่เพียงพอ กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1,010 คน มีผู้ได้รับการตรวจคัดกรอง จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 4 ไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี แต่การคัดกรอง ค้นหายังต้องดำเนินกิจกรรมต่อไปเพื่อได้รับการรักษาที่รวดเร็ว         โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ให้ความสำคัญในการคัดกรองค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี รายใหม่ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายรู้เท่าทันภาวะสุขภาพของตนเอง ได้รับการส่งเสริมความรู้ ในกลุ่มปกติ มีพฤติกรรมที่เหมาะสม สามารถป้องกันตนเอง ให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ ในกลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ และได้รับการรักษาที่รวดเร็วส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรคที่อาจพัฒนาไปเป็นโรคร้ายที่รุนแรงกว่าเดิมได้ เช่น ภาวะตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้จึงจัดทำโครงการคัดกรอง ค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ปี 2568 ขึ้น เป้าหมายสูงสุด เพื่อให้ประชาชน มีสุขภาพที่ดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรคตับอักเสบบี และโรคตับอักเสบซี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชน อายุ 32 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

ร้อยละ 70 ประชาชน อายุ 32 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

2 เพื่อให้ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี รายใหม่ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์รวดเร็วที่สุด

ร้อยละ 70 ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี รายใหม่ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์รวดเร็วที่สุด

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
    1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม
    2. ประชุมแกนนำ เพื่อชี้แจงโครงการ ความสำคัญของโครงการ และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจาก เพื่อให้แกนนำ ประชาสัมพันธ์ แนะนำกลุ่มเป้าหมาย ชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการให้มากที่สุด
  2. เตรียมเอกสารที่ใช้ในโครงการพร้อมทั้งมอบหมายหน้าที่ให้กับแกนนำ อสม.เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน
  3. พัฒนาศักยภาพแกนนำ จำนวน 30 คน เพื่อส่งเสริมความรู้ และฝึกปฏิบัติเจาะเลือดปลายนิ้วมือหยดลงบนชุดทดสอบ HCV Rapid Test Cassette ,HBsAg Rapid Test Cassette
  4. จัดกิจกรรมให้ความรู้ เรื่อง โรคตับอักเสบบี และโรคตับอักเสบซี และคัดกรองคันหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี ด้วยชุดทดสอบ HCV Rapid Test Cassette ,HBsAg Rapid Test Cassette ๗. ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชน อายุ 32 ปีขึ้นไป ให้ความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรมคัดกรอง ค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี มากขึ้น และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย รู้เท่าทันสุขภาพของตนเอง สามารถดูแล เฝ้าระวังสุขภาพของตนเองได้เหมาะสม
3.ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี รายใหม่ ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ ทุกราย ส่งผลให้ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว และสามารถลดความรุนแรงของโรคได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 11:34 น.