โครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ |
รหัสโครงการ | 68-L1512-02-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุ 4,5,8,9 ตำบลคลองปาง |
วันที่อนุมัติ | 31 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,550.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายละม้าย รอดกลิ่น |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.987,99.645place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 10,550.00 | |||
รวมงบประมาณ | 10,550.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวะที่ข้อเข่าหลังผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานเกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ ทำให้การงอกของกระดูกผิดตำแหน่ง มีการผิดรูปของข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณข้อเวลาเคลื่อนไหว เกิดทุกขเวทนาแก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง และทำให้โรคอื่น กำเริบได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สามารถออกกำลังกายได้เหมือนเดิม โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า บวม เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป สาเหตุมีได้หลายประการ เช่น ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การที่มีน้ำหนักตัวมากๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะที่ก้าวเดิน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน บางรายเคยมีการอักเสบติดเชื้อ หรือเป็นโรคไขข้อบางชนิด เช่น โรครูมาตอยด์ เป็นต้น จากสถานการณ์พบว่า โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคหนึ่งในสิบโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะทุพพลภาพ การดำเนินกิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลง อาจทำให้กลายเป็นกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงต้องได้รับการช่วยเหลือจากบุคคลในครอบครัว เนื่องจากการมีพยาธิสภาพที่กระดูกอ่อนผิวข้อ ก่อให้มีอาการปวดจากผิวข้อชำรุดและเกิดการอักเสบ หากโรคดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ช่องว่างผิวข้อหายไป กระดูกอ่อนผิวข้อชำรุด หรือกระดูกปลายข้อทรุดตัว ทำให้เข่าโก่งมากขึ้นได้ ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมอย่างรุนแรงมากขึ้นได้ ในปัจจุบันพบว่ามีการใช้ยาในการรักษาภาวะข้อเสื่อมเป็นจำนวนมาก รองจากยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะยาแก้อักเสบ ซึ่งเป็นการรักษาอาการปวดที่ปลายเหตุมากกว่าและมักจะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ค่อนข้างสูง ผู้สูงอายุบางรายต้องกลายเป็นผู้พิการ เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาและดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี
ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4,5,8,9 ตำบลคลองปาง มีผู้สูงอายุ จำนวน 350 คน คิดเป็น ร้อยละ 32.25 ของจำนวนประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดในตำบลคลองปาง เมื่อเทียบสัดส่วนถือว่ามีจำนวนมากขึ้น และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม ทางชมรมผู้สูงอายุ 4,5,8,9 ตำบลคลองปาง จึงจัดโครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการสามารถเรียนรู้วิธีการประเมินภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ด้วยตนเอง สามารถป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมและภาวะแทรกซ้อนได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลตนเอง ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลตนเอง |
||
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม |
||
3 | เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่าได้รักษาด้วยการประคบสมุนไพร มีอาการปวดลดลง ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่าได้รักษาด้วยการประคบสมุนไพร มีอาการปวดลดลง |
- ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลตนเอง
- ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
- ผู้สูงอายุมีความรู้ การป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม และปวดเมื่อยจากการทำงาน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 14:05 น.