โครงการชะลอไตเสื่อม ร่วมใจกันดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี ๒๕๖๘
ชื่อโครงการ | โครงการชะลอไตเสื่อม ร่วมใจกันดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี ๒๕๖๘ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 30 มกราคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 7,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายธีรยุทธ์ บินสอาด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.803,99.917place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน คือ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถ้าไม่รับการดูแลรักษาและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมามากมาย โดยเฉพาะโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease)ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมากถึงร้อยละ ๑๗.๕ ของประชากรที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแป-ระใต้ มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในความดูแล จำนวน ๒๖๖ คน ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน ๘๐ คน (ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์จ.สตูล HDC ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ) และมีการคัดกรองภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๐๑ ราย พบว่ามีภาวะเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง จำนวน ๓๔ ราย (ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์จ.สตูล HDC ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ) เมื่อโรคดำเนินเข้าสู่ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end stage renal disease ERSD) จะต้องได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง การผ่าตัดปลูกถ่ายไต ในประชาชนที่ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)สิทธิที่รัฐบาลให้ใช้ได้ คือการล้างไตทางช่องท้อง เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรังในระยะสุดท้ายจะส่งผลต่อคุณภาพของผู้ป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และประเทศจะต้องสูญเสียงบประมาณด้านสาธารณสุขเป็นเงินจำนวนมหาศาล เป็นสาเหตุการป่วย พิการและเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลกและประเทศไทย ส่งผลให้เกิดภาระและสูญเสียในทุกมิติทั้งกาย จิต สังคม เศรษฐกิจต่อทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติ
โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักที่สำคัญต่อการเกิดโรคดังนี้ ภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานควบคุมโรคไม่ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วนลงพุง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแป-ระใต้ ต.ท่าเรือ อำเภอท่าแพ จ.สตูล ได้ตระหนักถึงความสำคัญ เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง เกิดอุบัติการณ์ พิการ และเสียชีวิตเกิดขึ้นในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักถึงการป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง ร้อยละ 70 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักถึงการป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง |
||
2 | ๒. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ๒.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงที่มีคนเสี่ยงสูง และเสี่ยงสูงมาก ลดลง ร้อยละ ๑๐ |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑.จัดทำแผนงานโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒.ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการหาแนวทางการดำเนินงานร่วมกับ อสม.และเจ้าหน้าที่รพ.สต. ๓.จัดทำโครงการขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าเรือ ๔.ดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ ๕. จัดอบรมให้ความรู้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ๖.คัดกรองเสี่ยงต่อภาวะไตเสื่อมเรื้อรังแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน /ความดันโลหิตสูง ๗.ขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง ๘.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน
๑. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง ๒.เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 14:31 น.