โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยโยคะภาวนา
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยโยคะภาวนา |
รหัสโครงการ | 68-L1512-02-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุ 4,5,8,9 ตำบลคลองปาง |
วันที่อนุมัติ | 31 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 7,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายละม้าย รอดกลิ่น |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.987,99.645place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มี.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 7,450.00 | |||
รวมงบประมาณ | 7,450.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ในปี พ.ศ.2568 ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตนเองได้จึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญ การนำศาสตร์การแพทย์ทางเลือกด้านโยคะภาวนามาใช้ในการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของผู้สูงอายุให้สามารถพึ่งตนเองและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆได้ด้วยตนเอง ลดภาระการดูแลของครอบครัวส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในครอบครัว ชุมชนและสังคมดีขึ้น โยคะ (Yoga) หมายถึง การรวมกาย จิต และวิญญาณ ให้เป็นหนึ่งเดียว การฝึกโยคะเป็นกระบวนการสำหรับฝึกกาย ฝึกการหายใจ และฝึกจิตให้มีความจดจ่อกับเรื่องลมหายใจเข้าออก อันจะนำไปสู่การมีสมาธิที่ดีขึ้น ในแง่ปฏิบัติต้องรวมสามอย่างเข้าด้วยกัน คือ การเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ การประสานลมหายใจเข้าออกกับการเคลื่อนไหว และมีจิตสงบนิ่งในขณะที่เคลื่อนไหว ที่สามารถนำมาใช้ ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุได้ นอกจากส่งเสริมให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ แล้ว ยังช่วยสร้างสมาธิ ส่งเสริมให้สุขภาพจิตดีขึ้น ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4,5,8,9 ตำบลคลองปาง มีผู้สูงอายุ จำนวน 350 คน คิดเป็น ร้อยละ 32.25 ของจำนวนประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดในตำบลคลองปาง เมื่อเทียบสัดส่วนถือว่ามีจำนวนมากขึ้น และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและจิตในผู้สูงอายุ ทางชมรมผู้สูงอายุ 4,5,8,9 ตำบลคลองปาง จึงจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยโยคะภาวนา เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการสามารถเรียนรู้ศาสตร์โยคะและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ผู้สูงอายุสามารถนำศาสตร์โยคะภาวนามาใช้ในการดูแลสุขภาพได้ ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์โยคะภาวนาและสามารถนำมาใช้ในการดูแลสุภาพ |
||
2 | ผู้สูงอายุสามารถนำศาสตร์โยคะมาฝึกเจริญสติภาวนาได้ ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุสามารถนำศาสตร์โยคะมาฝึกเจริญสติภาวนาได้ |
- ผู้สูงอายุสามารถนำศาสตร์โยคะภาวนามาใช้ในการดูแลสุขภาพได้
- ผู้สูงอายุสามารถนำศาสตร์โยคะมาฝึกเจริญสติภาวนาได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 14:36 น.