โครงการรวมพลังชุมชน รู้ตน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตามวิถีชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการรวมพลังชุมชน รู้ตน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตามวิถีชุมชน |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข สอ.แประใต้ |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 30 มกราคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 18,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางหวัน เปรมใจ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.803,99.917place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง ส่วนหนึ่งนั้น โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้น พบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและ 1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูงนอกจากนี้พบว่าประมาณร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลกเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในตำบลท่าเรือพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเมื่อลำดับความสำคัญของปัญหาในตำบล พบว่าโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาที่สำคัญของตำบล โดยพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนมีจำนวน ๑02 คน และจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนมีจำนวน ๒85 คน และพบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มป่วยที่ขาดการรับประทานยาที่ต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ร้อยละ 30 ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นรวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับผู้ป่วยที่ขาดการดูแลอย่างต่อเนื่อง
จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ในปี 25๖7 ข้อมูลจาก ฐานข้อมูลด้านสุขภาพจังหวัดสตูล (HDC) เป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป จำนวน 2058 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 141 คน คิดเป็นร้อยละ 26.36 พบกลุ่มป่วยจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.37 พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 184 คน คิดเป็นร้อยละ ๒7.7๙
โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก 3 อ 2 ส พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด รวมทั้งไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ ทางกลุ่ม ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ จึงได้จัดทำโครงการโครงการรวมพลังชุมชน รู้ตน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตามวิถีชุมชน ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนและมุ่งหวังในการที่จะเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 70 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง |
||
2 | 2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมชี้แจงแกนนำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ เพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินโครงการ
1.2 จัดทำแผนปฏิบัติงาน
1.3 จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
1.4 แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโครงการ
2. ขั้นดำเนินการ
2.1 ตรวจและประเมินสุขภาพกลุ่มเป้าหมายก่อนเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้
- การชั่งน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) วัดส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) วัดรอบเอว (หน่วยเป็นเซนติเมตร)
- คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย โดยใช้ข้อมูลเรื่องน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยความสูง (เมตร) ยกกำลัง 2
- การจับชีพจรและวัดความดันโลหิต
- การเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด
2.2 อบรมให้ความรู้และสร้างแรงจูงใจในการมีสุขภาพดี โดย
- จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่อง 3อ 2ส เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2.3 ตรวจและประเมินสุขภาพกลุ่มเป้าหมายหลังเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้
- การชั่งน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) วัดส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) วัดรอบเอว (หน่วยเป็นเซนติเมตร)
- คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย โดยใช้ข้อมูลเรื่องน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยความสูง (เมตร) ยกกำลัง 2
- การจับชีพจรและวัดความดันโลหิต
- การเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด
- วิเคราะห์และแปรผลข้อมูลสุขภาพ หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2.4 สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลงบประมาณ
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 14:41 น.