โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก และการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก และการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5310-1-4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว อ.ละงู จ.สตูล |
วันที่อนุมัติ | 5 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 5 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายรุ่งศักดิ์ จอสกุล |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวมุศิรา สอเหลบ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.918681,99.828952place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 5 มี.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 40,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 40,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 140 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ตำบลเขาขาว ซึ่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีการระบาดของโรคในทั้ง 7 หมู่บ้าน โดยค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (House Index - HI) และดัชนีภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย (Container Index - CI) สูงกว่ามาตรฐาน (>10) ทุกหมู่บ้าน ซึ่งบ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคคไข้เลือดออก ปี 2566 ผู้ป่วยและผู้เข้าข่ายสงสัย จำนวน 92 ราย , ปี 2567 พบ ผู้ป่วยและผู้เข้าข่ายสงสัย จำนวน 7ราย และ ปี 2568 รับรายงาน ผู้ป่วยและผู้เข้าข่ายสงสัย จำนวน 1 ราย แม้จะมีการสำรวจลูกน้ำยุงลายเป็นประจำทุกเดือนโดย อสม. และรายงานผ่านระบบ Google Form ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินมาตรการควบคุมโรคอย่างเป็นระบบและสามารถลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลดัชนีลูกน้ำยุงลาย มีระบบเก็บข้อมูล และ Dashboard พร้อมใช้งาน |
100.00 | |
2 | เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในทุกหมู่บ้าน ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI, CI) ลดลงต่ำกว่า เกณฑ์มาตรฐาน |
100.00 | |
3 | เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของแกนนำสุขภาพและชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แกนนำสุขภาพอย่างน้อย 90% ผ่านการอบรมและใช้งานระบบได้ |
100.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
5 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 | พัฒนาแพลตฟอร์มการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ดัชนีลูกน้ำยุงลาย | 0 | 0.00 | - | ||
5 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 | อบรม แกนนำสุขภาพ | 0 | 22,500.00 | - | ||
5 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรม รณรงค์ โรคไข้เลือดออกในชุมชน | 0 | 17,500.00 | - | ||
5 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 | นำเสนอ ข้อมูลและวิเคราะห์ดัชนีลูกน้ำยุงลาย | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 0 | 40,000.00 | 0 | 0.00 |
1.ได้ระบบเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ดัชนีลูกน้ำยุงลายที่มีประสิทธิภาพ 2.แกนนำสุขภาพมีความสามารถในการสำรวจและบันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้อง 3.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในทุกหมู่บ้านลดลงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 4.ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 00:00 น.