โครงการลดพฤติกรรมเสี่ยงลดโรคเรื้อรัง ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการลดพฤติกรรมเสี่ยงลดโรคเรื้อรัง ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.ตำบลท่าเรือ |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 30 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 12,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุธิตา ลารีนู |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.803,99.917place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการ เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งกลุ่มโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรา หากไม่ได้รับการ ดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลาจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง
การมีสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา ดังนั้นประชาชนจะต้องรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะโรคบางโรคสามารถป้องกันได้โดยการออกกำลังกาย ดีกว่าการรอให้เกิดการเจ็บป่วยแล้วมารับรักษา จะสิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณในการดูแลรักษาจำนวนมาก การที่คนเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดี บุคลากรสาธารณสุขมีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขควรมีสุขภาพที่ดีเป็นแบบอย่างแก่ประชาชาชน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆที่มีความทันสมัย สะดวกสบายมากขึ้น ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบันเปลี่ยนไปประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยลง มีผลทำให้ร่างกายอ่อนแอ คนไทยมีแนวโน้มการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อมากขึ้น เช่น โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การเลือกรับประทานอาหารที่ที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด และการประทานผักและผลไม่เพียงพอ มีความเครียด มีการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา เป็นต้น
สถานการณ์โรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ พบว่า ปี 2567 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 315 ราย และมารับการรักษาต่อเนื่อง จำนวน 169 ราย และผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 116 ราย และมารับการรักษาต่อเนื่อง จำนวน 83 ราย
ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปลอดสารพิษ กระตุ้นให้เห็นความสำคัญในการออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหาร และเป็นการสร้างพฤติกรรมการออกกำลังกายให้เป็นพฤติกรรมเคยชิน และเป็นการสร้างนิสัยรักการออกกำลังกาย เพื่อให้การออกกำลังกาย และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นไปอย่างสม่ำเสมอและยั่งยืน และส่งเสริมให้ประชาชนปลูกผักปลอดสารเคมีเพื่อรับประทาน ส่งผลให้ประชาชนมีการสร้างสุขภาพที่ดี อาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.ท่าเรือ จึงได้จัดทำโครงการลดพฤติกรรมเสี่ยงลดโรคเรื้อรัง ตำบลท่าเรือ
อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ2ส ร้อยละ 70 ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ2ส |
||
2 | เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเห็นความสำคัญในการออกกำลังกาย และการเลือกรับประทานอาหาร ร้อยละ 70 ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเห็นความสำคัญในการออกกำลังกาย และการเลือกรับประทานอาหาร |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย
- จัดทำแผนงานโครงการ
- จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และประสานงาน
- อบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่ษ การวางแผนการรับประทานอาหารในแต่ละมื้ออาหารแก่ประชาชน
- จัดกิจกรรมรวมพลออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
- จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง ๓.อ ๒ ส.
- สาธิตการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
- ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้น มีการออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆละ 30 - 60 นาที
- มีชมรมออกกำลังกายและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
- ผู้ป่วยต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 14:53 น.