โครงการป้องกันเด็กจมน้ำในวัยปฐมวัย (โครงการต่อเนื่อง)
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันเด็กจมน้ำในวัยปฐมวัย (โครงการต่อเนื่อง) |
รหัสโครงการ | 68-L7575-03-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ผู้อำนวยการกองศึกษา รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรี |
วันที่อนุมัติ | 26 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 3,132.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุวิณา ประสมทรัพย์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กรมควบคุมโรค เผยรายงาน ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการตกน้ำจมน้ำ 1 ม.ค. - 14 ก.ย. 2565 พบกว่า 184 เหตุการณ์ "จมน้ำเสียชีวิต" 174 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี กลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าทุกกลุ่มอายุโดยเพศชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิงถึงสองเท่าและโดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายน เนื่องจากว่ายน้ำไม่เป็น ไม่มีทักษะการเอาชีวิตรอด แหล่งน้ำที่เกิดเหตุการณ์ เช่น คลอง แม่น้ำ แหล่งน้ำที่ใช้ในเกษตรกรรม ทะเล สระว่ายน้ำ ตามลำดับ ส่วน ปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตจากการจมน้ำ ได้แก่ ว่ายน้ำไม่เป็น ไม่มีทักษะการเอาชีวิตรอด ลงเล่นน้ำโดยไม่แจ้งผู้ปกครองดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา ไม่มีป้ายเตือน ไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้พี่ดูแลน้องหรือผู้สูงอายุดูแลเด็ก และมักจะพบว่าในช่วงปิดภาคเรียน (มีนาคม-พฤษภาคม) ของทุกปี เป็นช่วงที่มีสถิติเด็กจมน้ำมากที่สุด
จากสถานการณ์ที่ผ่านมาในแต่ละปีมีเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำและจมน้ำเสียชีวิต เพราะใน พื้นที่มีแหล่งน้ำที่เด็กสามารถเล่นน้ำได้ โดยผู้ปกครองอาจจะไม่ทราบและไม่ตระหนักถึงสาเหตุการณ์เสียชีวิตของบุตรหลาน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรี จึงได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็น จากการจมน้ำ การป้องกันการจมน้ำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งจะต้องมีมาตรการหรือวิธีการป้องกันทั้งในระดับชุมชนหรือระดับครอบครัว ก่อนที่จะเกิดความ สูญเสียต่อบุคคลอันเป็นที่รักและเพื่อให้เกิดแน่วทางการป้องกันอย่างจริงจังเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำ จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ "ตะโกน โยน ยื่น" ประจำปี 2568 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีความรู้ สามารถช่วยเหลือตนเอง หรือพบเห็นอุบัติเหตุคนจมน้ำแล้วสามารถให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทันท่วงที ซึ่งจะช่วยเหลือผู้เล่นน้ำหรือรอดชีวิตจากจากการจมน้ำได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการบรรจุเรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กสอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำที่เสี่ยงโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการสอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่ง น้ำเสี่ยง หมายถึง สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง เน้นการสอน อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม และการตะโกนขอความ ช่วยเหลือ และผู้ปกครองถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากต้องมีความรู้ในการสอนบุตรหลานให้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง และหากเด็กจมน้ำต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการกู้ชีพ/ปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธีดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรี ได้จัดทำโครงการป้องกันเด็กจมน้ำปฐมวัย เพื่ออบรมให้ความรู้กับครู/ผู้ดูแลเด็ก/ผู้ปกครองขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการจมน้ำและการกู้ชีพการปฐมพยาบาลออย่างถูกวิธี เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรี จำนวน 60 คน |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง ได้ตระหนักถึงอันตรายจากการจมน้ำ และมีวิธีป้องกันมิให้เด็กเกิด ความสูญเสียจากการจมน้ำ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรี จำนวน 60 คน |
0.00 | |
3 | เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่บรี จำนวน 60 คน |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 3,132.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 16 มิ.ย. 68 | ขั้นเตรียม | 0 | 0.00 | - | ||
1 มิ.ย. 68 - 15 ส.ค. 68 | ขั้นดำเนินการ | 0 | 3,132.00 | - | ||
15 ส.ค. 68 - 1 ก.ย. 68 | ขั้นสรุปผล | 0 | 0.00 | - |
- ครู/ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการจมน้ำ และการกู้ชีพ การปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี
- ครู/ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง ได้ตระหนักถึงอันตรายจากการจมน้ำ และมีวิธีการป้องกันมิให้เด็กเกิดความสูญเสียจากการจมน้ำ
- อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2568 09:00 น.