โครงการเด็ก 0-5 ปี โภชนาการดีสู่พัฒนาการสมวัย
ชื่อโครงการ | โครงการเด็ก 0-5 ปี โภชนาการดีสู่พัฒนาการสมวัย |
รหัสโครงการ | 68-L2539-01-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโต๊ะเด็ง |
วันที่อนุมัติ | 14 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 10 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 16,260.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวจุฑาวรรณ บือซา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต การจะทำให้เด็กเติบโตอย่าง มีคุณภาพมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย มีความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ ปรับตัวอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องได้รับการเกื้อหนุน ส่งเสริม จากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อม ระบบบริการ และปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งคือตัวมารดาเอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโต๊ะเด็งในปี 2567 พบว่าเด็กมีปัญหา อ้วน 3.17 % , เตี้ย 12.73 % และ ผอม 7.48 % เรื่องโภชนาการ เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องให้ความตระหนัก ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้ดูแล ควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเพื่อที่สามารถทำอาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กรับประทาน และสามารถส่งเสริมให้บุตรมีพัฒนาการตามวัยได้ ผู้ปกครองจึงต้องมีการสร้างนิสัยในการบริโภคอาหารที่ถูกต้องให้กับเด็ก ตั้งแต่เด็กๆ เพื่อฝึกนิสัยการรับประทานอาหารที่ถูกต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ เพื่อให้เด็กมีสุขภาวะ ทั้งทางกาย ใจ สังคม และปัญญา โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็ก พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการที่สงสัยล่าช้า ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาล และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโต๊ะเด็ง จึงได้จัดทำโครงการแก้ไข ปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับโภชนาการเด็ก 0-5 ปีสู่พัฒนาการสมวัย ผู้ปกครองเด็กมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในเรื่องโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ร้อยละ 80 (วัดจากการติดตามในคลินิก WBC) |
80.00 | 20.00 |
2 | เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการสงสัยล่าช้า เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการประเมินภาวะโภชนาการร้อยละ 90 |
80.00 | 20.00 |
3 | เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย เด็กอายุ 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 87 |
80.00 | 20.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในผู้ปกครอง | 0 | 16,260.00 | - | ||
รวม | 0 | 16,260.00 | 0 | 0.00 |
1.เด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการสมวัยร้อยละ 90 (วัดจากรายงานโภชนาการแต่ละงวดและพัฒนาการ) 2.เด็กมีพลานามัยที่สมบูรณ์ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสติปัญญาร้อยละ 80 (วัดจากการติดตามในคลินิก WBC) 3.ผู้ปกครองเด็กมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในเรื่องโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ร้อยละ 80 (วัดจากการติดตามในคลินิก WBC)
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2568 00:00 น.