กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโภชนาการดี และพัฒนาการสมวัยด้วยสองมือพ่อแม่ที่ใส่ใจ
รหัสโครงการ 60-L2514-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ
วันที่อนุมัติ 17 สิงหาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 ธันวาคม 2560 - 7 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 25 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 14,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮาซามา ซูเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอรรถพล ขวัญเกิด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.343,101.59place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 6 ธ.ค. 2560 7 ธ.ค. 2560 14,000.00
รวมงบประมาณ 14,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 104 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เด็กที่มีคุณภาพคือเด็กที่มีการเจริญเติบโตสมวัย พัฒนาการสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายสติปัญญาจิตใจ อารมณ์ และสังคม ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็กเด็กในวัยนี้ถูกละเลยไม่ได้รับการเอาใจใส่ด้านโภชนาการจะส่งผลทำให้ร่างกายและสมองเติบโตช้า ผลที่ตามมาคือโรคขาดสารอาหาร ทำให้พัฒนาการและการเรียนรู้ล่าช้าด้อยกว่าเด็กตามเกณฑ์ที่อยู่ในวัยเดียวกัน และเด็กที่ขาดสารอาหารจะมีผลทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำ เด็กจะเจ็บป่วยบ่อย เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายเด็กในวัยนี้จะเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศหากยังปล่อยเด็กในวัยนี้ขาดสารอาหาร อาจส่งผลกระทบทุกๆด้าน การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ด้านโภชนาการสำคัญที่สุด เพื่อให้เด็กได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการทีดี จากรายงานการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ประจำงวดที่ ๒/๒๕๖๐ จำนวนเด็กทั้งหมด ๕๐๐ คน จำนวนเด็กที่ได้รับการเฝ้าระวังฯ จำนวน ๔๔๘ คน (ร้อยละ ๘๙.๖) พบอัตราเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือนมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๖๑ ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ ๗๐ และอัตราการตรวจพัฒนาการเด็ก ๙ , ๑๘ , ๓๐ , ๔๒ พบเด็กสงสัยมีพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ ๑๙.๔๘จะเห็นได้ว่าภาวะทุพโภชนาการของเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ยังคงเป็นปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไขต่อไป
ดังนั้น เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ จึงได้จัดทำโครงการโภชนาการเด็กดีพัฒนาการสมวัย ด้วยสองมือพ่อแม่ที่ใส่ใจขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครอง มีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็ก ด้านโภชนาการ และการส่งเสริมพัฒนาการ ส่งผลให้ผู้ปกครองเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ไปในทางที่ถูกต้อง และเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มอัตราของเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน มีส่วนสูงระดับดีและมีรูปร่างสมส่วนตามวัย

อัตราของเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน มีส่วนสูงระดับดีและมีรูปร่างสมส่วน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐

2 เพื่อให้เด็ก ๙, ๑๘, ๓๐, ๔๒ เดือน ได้รับการตรวจพัฒนาการสมวัย

ร้อยละของเด็ก ๙, ๑๘, ๓๐, ๔๒ เดือน ได้รับการตรวจพัฒนาการสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นวางแผน(Plan) ๑.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ๒.เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓.แต่งตั้งผู้รับผิดชอบงาน ๔.ประชุม/ประสานอสม. เพื่อชี้แจงและปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการ ขั้นดำเนินการ(Do) 1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่อสม. และผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ๑.๑ กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ อสม. และ ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน 1.2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน 1.3 ติดตามคัดกรองภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน โดยเจ้าหน้าที่และ อสม. 1.4 ติดตามตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก ๙ , ๑๘ , ๓๐ , ๔๒ เดือน โดยเจ้าหน้าที่และ อสม. 1.5 จัดทำสมุดติดตามเด็กภาวะทุพโภชนาการ (เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์) ในเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ๒. ติดตามประเมินผลโครงการ ๓. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check) ๑.สรุปความครอบคลุมของเด็กที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนทุกๆ 3 เดือน ๒.ติดตามตรวจพัฒนาการเด็กทุกๆเดือน
ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑.รายงานผลการดำเนินงาน ๒.ประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ๓.ปรับปรุง/พัฒนาวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน มีส่วนสูงระดับดีและมีรูปร่างสมส่วนเพิ่มขึ้น ๒. เด็ก ๙, ๑๘, ๓๐, ๔๒ เดือน ได้รับการตรวจพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2560 13:25 น.